หา Keyword มาทำ SEO ให้เว็บไซต์ติดหน้าแรก Google ใน 30-60 วัน
ผู้เขียนออกแบบบทความนี้ให้ครอบคลุมการทำ SEO ตั้งแต่ต้นจนจบ เริ่มด้วยความหมายความสำคัญของ Keword การใช้โปรแกรมหาฟรีหาคีย์เวิร์ด ไปจนถึงการวิเคราะห์ความสามารถ และช่วงท้ายของบทความในแสดงตัวอย่างจริงเพื่อให้ผู้อ่านมีควาเข้าใจอย่างถ่องแท้และสามารถทำให้เว็บไซต์ติดหน้าแรก Google ได้จริง
บทความนี้ค่อนข้างยาว มีเนื้อหามากพอสมควร ถ้าจะให้ดีทำจิตใจให้ปลอดโปร่ง หาเครื่องดื่มที่ชอบมานั่งจิบไปอ่านไปจะให้ผลดี .. อ่านจบแล้วคุณสามารถนำความรูไปใช้ได้จริง การันตี!
Keyword คืออะไร?
คีย์เวิร์ด คือคำและวลีในเนื้อหาเว็บที่ผู้คนสามารถค้นหาเว็บไซต์ของคุณผ่านเครื่องมือค้นหาได้
ถ้าคุณสามารถปรับเว็บไซต์และสร้างคอนเทนต์สำหรับคีย์เวิร์ดใดๆ อย่างเหมาะสมตามกฏอัลกอริทึมของเสิร์ชเอนจิน คุณมีโอกาสสูงที่จะขึ้นไปติดหน้าแรกได้
การวิจัยคำหลัก (Keyword Research)
การหาคีย์เวิร์ด (การวิจัยคำหลัก) คือระบวนการในการค้นหาและวิเคราะห์ข้อความค้นหาที่ผู้คนป้อนลงใน Search Engine มีหลายสิ่งที่ได้จากกระบวนการนี้ อาทิ คำที่นำมาทำ Search Engine Optimization, ความนิยมของข้อความค้นหาเหล่านี้ (Search Volume) ความยากในทำอันดับ และอื่นๆ
การหาคำหรือวลีที่ถูกต้องเป็นกระบวนการที่มีหลายขั้นตอน อาจดูเยอะสักหน่อย และอาจต้องมีการลองผิดลองถูกกันบ้าง แต่เมื่อคุณเข้าใจหลักการพื้นฐาน (ซึ่งไม่ยาก) แล้วคุณสามารถนำความรู้ที่ได้นี้ไปหาว่าลูกค้าของคุณหาอะไรใน Google และนำคำเหล่านั้นไปปรับแต่งเว็บไซต์เพื่อทำ Ranking ที่ต้องการต่อไป
หาคีย์เวิร์ดด้วย Google Search Console (โปรแกรมฟรี)
Google Search Console หรือ GSC เป็นโปรแกรมสารพัดประโยชน์ซึ่ง Google สร้างขึ้นมาให้ใช้กันฟรีๆ
ในหัวข้อนี้เรามาดูวิธีใช้เครื่องมือตัวนี้ในการหาคำง่ายๆ มาทำ SEO กัน สำหรับท่านที่ได้ติดตั้ง GSC ในเว็บไซต์มาแล้ว 3 เดือน เป็นอย่างน้อย
คีย์เวิร์ดที่ผมว่า “ง่ายๆ” ในที่นี้ ผมหมายถึง keyword ประเภท Longtail หรือ คำที่เว็บเพจของคุณติดอันดับดีอยู่แล้วในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่ดีที่สุด นั่นก็คือ อันดับ 6 ถึงอันดับที่ 10 หรือที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า Below The Fold ไล่ไปจนถึงหน้าสอง (อันดับที่ 11 ถึง 20) ของผลลัพธ์การค้นหา
การที่เว็บเพจติดอันดับอยู่ในครึ่งล่างของหน้าแรก Google (Below the Fold) ไปจนถึงหน้าที่สอง ชี้ให้เห็นว่า Google พอใจกับคุณภาพของเว็บเพจนั้น ๆ พอสมควรแล้ว
ดังนั้นเมื่อคุณปรับปรุงประสิทธิภาพหน้าเพจเหล่านี้เพิ่มเติมอีกสักหน่อย คำที่คุณกำลังทำ SEO อยู่สามารถขึ้นไปยืนอยู่ในอันดับที่คุณคาดหวังไว้ เช่น Top 3, Top 5, หรือ Top 10 เป็นต้น ได้โดยไม่ยากมาก และไม่เสียเวลาเนิ่นนานนัก กล่าวคือ ระยะหวังผลอยู่ในช่วง 30-90 วัน
ต่อไปเรามาดูวิธีการหาว่าหน้าเว็บเพจใดในเว็บไซต์ของคุณมีคำติดอันดับดีๆ (ไม่เกินหน้า 2 ของ Google) ขั้นแรก เข้าไปที่ https://search.google.com/search-console/about เพื่อเปิด GSC ขึ้นมา
จะเห็นว่าหน้าจอถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ได้แก่ ส่วนของเมนู และส่วนของฟังก์ชันการใช้งานให้คุณคลิกที่เมนู “ผลการปฏิบัติงาน” (Performances)
ในส่วนของฟังก์ชันการใช้งานจะแสดงผลการปฏิบัติงาน ทั้งในรูปแบบกราฟเส้นและในแบบตาราง
สำหรับกรณีของกราฟ คุณสามารถตีกราฟเส้นได้เอง เช่น จำนวนครั้งที่เว็บไซต์ของคุณถูกแสดงผลใน Google (Impressions) หรือจำนวนครั้งที่ถูกคลิก (Clicks) เป็นต้น
ให้คุณคลิกเลือก “จำนวนการแสดงผลทั้งหมด” (Impressions) และ “อันดับเฉลี่ย” (Position) เพื่อตีกราฟ และนำข้อมูลทั้งสองมาแสดงในตาราง เป็นคอลัมน์ “การแสดงผล” และ “ตำแหน่ง” ตามลำดับ
ในส่วนของตารางจะแสดงข้อมูลที่เราต้องการนั่นก็คือ “ข้อความค้นหา” (Queries) ที่ผู้คนพิมพ์ลงไปใน Google และทำให้ “หน้า” เว็บเพจ (Pages) ของคุณถูกแสดง เทียบกับ “ตำแหน่ง” (Position) เฉลี่ยของข้อความค้นหาเหล่านั้น
ในเบื้องต้นอันดับของข้อความค้นหาหรือ keyword จะถูกแสดงทั้งหมด ทั้งคำที่ติดอันดับดีและไม่ดีปะปนกัน ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่เราต้องการ
เราจำเป็นต้องกรองเลือกเอาเฉพาะคีย์เวิร์ดที่มีศักยภาพสูงในการทำอันดับในระยะสั้น กล่าวคือ คีย์เวิร์ดที่อันดับอยู่ระหว่าง 1-20 โดยทำตามขั้นตอนดังนี้…
- ให้คุณคลิกตัวกรอง
- จากนั้นให้เลือก “ตำแหน่ง”
- เลือกกรองตามตำแหน่งที่น้อยกว่า 20
คุณสามารถดูได้ว่าคำที่คุณต้องการหยิบมาทำ SEO อยู่ในหน้าเว็บเพจไหน ด้วยการคลิกที่คีย์เวิร์ดที่คุณสนใจ จากนั้นให้คลิกคอลัมน์ “หน้า”
ใครที่ถนัดใช้โปรแกรมประเภท Spread Sheet อย่าง Excel หรือ Google Sheet ก็สามารถ Export ตารางนี้ออกมา โดยคลิกที่ปุ่ม “ส่งออก” และเลือกประเภทของไฟล์ที่ต้องการ
เท่านี้คุณก็จะได้รายการคำที่มีอันดับเฉลี่ยระหว่าง 1-20 ที่คุณสามารถนำมาจัดลำดับความสำคัญ และคัดสรรว่าคำไหนที่ควรทำก่อน-หลัง เช่น คุณอาจจะเน้นเฉพาะคำที่ติดอยู่ในหน้า 2 ก่อน หรือเฉพาะคำที่อยู่ด้านล่างของหน้าแรกก่อน อันนี้ก็สุดแท้แต่ความต้องการและจุดประสงค์ของธุรกิจ
Search Analytics for Sheets + Google Search Console: เครื่องทุ่นแรงย่นระยะเวลาหา Keyword
แม้ว่าวิธีการค้นหาคีย์เวิร์ดด้วยการใช้ Google Search Console ที่ได้เรียนกันไปแล้วสามารถช่วยให้คุณหาคีย์เวิร์ดมาทำ SEO ได้อย่างง่ายๆ แต่ก็ยังมีข้อด้อยอยู่ 2 ประการ คือ
- “ข้อความค้นหา” (Queries) กับ “หน้า” (Pages) จะอยู่แยกออกจากกันเป็นเอกเทศ ทำให้เมื่อคุณต้องการดูว่าคีย์เวิร์ดไหนอยู่หน้าเพจอะไร คุณต้องคลิกคีย์เวิร์ด แล้วก็ไปคลิกที่หน้าเพจอีกครั้ง ถ้าเว็บไซต์คุณเล็ก มีคีย์เวิร์ดติดอันดับไม่มากคงไม่เป็นปัญหา แต่ในกรณีเว็บใหญ่ มีคีย์เวิร์ดเป็นร้อยหรือเป็นพันที่ต้องมานั่งเลือก การคลิกไปคลิกมาแบบนี้คงทำให้เสียเวลาชีวิตไปไม่ใช่น้อย
- GSC จะแสดงข้อมูลได้สูงสุด 1,000 แถว หมายความว่าคุณไม่สามารถดูข้อมูลคีย์เวิร์ดเกิน 1,000 คำ ในกรณีที่เว็บคุณมีคีย์เวิร์ดติดอันดับมากกว่า 1,000 คำ
ในบทความนี้ผมขอนำเสนอทางออกของปัญหา
โดยการใช้เครื่องทุ่นแรงที่มีชื่อว่า Search Analytics for Sheet (เป็น Addon หรือส่วนเสริมของ Google Sheet ใช้งานได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายครับ) ทีทำงานเชื่อมต่อกับ GSC และนำข้อมูลมาแสดงใน Google Sheet ได้เป็นอย่างดี
ให้คุณเปิด Google Sheet ขึ้นมาก่อน เพื่อโหลดและติดตั้ง Search Analytics for Sheet
1. ให้คลิกที่เมนู “ส่วนเสริม” และ
2. คลิก “ดาวน์โหลดส่วนเสริม”
3. ให้พิมพ์ “Search Analytics for Sheet” ใน Search Box แล้วคลิกเพื่อหาส่วนเสริม เพื่อโหลดและติดตั้ง
4. เมื่อติดตั้งเรียบร้อย ให้คุณเปิด Search Analytics for Sheet ขึ้นมา ด้วยการคลิกที่เมนู Search Analytics for Sheet > Open Sidebar หลังจากนั้น Search Analytics for Sheet จะโหลดขึ้นมาและแสดงอยู่ด้านขวามือ (Side Bar)
5. Verified Site: ตั้งค่า Search Analytics for Sheets โดยให้คุณเลือกเว็บไซต์ที่ต้องการดึงข้อมูลจาก GSC
6. Date Range: เลือกช่วงเวลาที่คุณต้องการดึงข้อมูล แนะนำให้เลือกอยู่ในช่วงระหว่าง 3 เดือนขึ้นไป
7. Group By: เลือก Page, Query ระบุว่าให้แสดง ”หน้า” (Pages) และ “ข้อความค้นหา” (Queries) ไว้ใน Sheet เดียวกัน
8. Results Sheet: เลือก Google Sheet ที่คุณต้องการแสดงผล ตรงนี้ให้ระวังนิดนึง ถ้าคุณเลือก Sheet ที่มีข้อมูลอื่นๆ อยู่แล้วจะถูกเขียนทับ
ในช่องอื่นๆ ให้คงค่าที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ไม่ต้องปรับเปลี่ยนอะไร เสร็จแล้วกดปุ่ม Request Data หลังจากนั้น Search Analytics for Sheet จะออกไปเชื่อมต่อและดึงข้อมูลจาก Search Console มาเพื่อคุณ ดังนี้
ในที่สุด “ข้อความค้นหา” (Queries) กับ “หน้า” (Pages) ก็ดึงมาแสดงอยู่ในที่เดียวกัน และจากในรูปจะเห็นด้วยว่าผมสามารถดึงข้อมูลจาก GSC มาได้ถึง 9,000 กว่าแถว
ตอนนี้คุณหาคีย์เวิร์ดที่มีโอกาสติดหน้าแรกสูงเป็นแล้ว ในหัวข้อต่อๆ ไป ผมจะสอนการวิเคราะห์ความสามารถการแข่งขัน Keywords ว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนที่จะประสบความสำเร็ขจ
โดยช่วงแรกจะลงทฤษฏีกันสักเล็กน้อย จากนั้นจะเป็นการยกตัวอย่างการวิเคราะห์หน้าผลลัพธ์การค้นหาจริงสัก 2-3 ตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพ และทำตามได้
4 ปัจจัยวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขัน
ในกระบวนการเฟ้นหา keyword มาทำ SEO ผมแนะนำให้คุณใช้ปัจจัย 4 ประการดังต่อไปนี้
- Search Volume
- Relevance
- Onpage SEO
- BackLink
ประกอบการตัดสินใจทุกครั้ง เพื่อให้ได้คำที่เหมาะสม สามารถทำได้จริงตามระยะเวลาและงบประมาณ
1. ปริมาณการค้นหา (Search Volume)
ปริมาณการค้นหา คือจำนวนคนตัวเป็นๆ ทีค้นหาธุรกิจของคุณใน Google โดยทั่วไปถ้ามีผู้คนค้นหาธุรกิจของคุณใน Search Engine เป็นจำนวนมากในแต่ละเดือน ย่อมดีกว่ามีคนหาน้อย หรือไม่มีคนสนใจค้นหาเลย
2. ความแม่นตรง (Relevance)
คีย์เวิร์ดที่ตอบโจทย์ทางธุรกิจ คือคำที่มีสิ่งที่เรียกว่า Relevance เช่นคุณขายรถมือสองอย่างเดียว ไม่มีรถมือหนึ่ง แล้วคุณไปทำ SEO เพื่อดันคีย์กว้างๆ อย่างคำว่า “รถ” (ซึ่งอาจเหมารวมทั้งรถมือหนึ่งและมือสอง) หรือคำว่า “รถใหม่” เป็นต้น
แบบนี้อาจทำให้คุณเสียลูกค้าไปส่วนหนึ่ง ในขณะที่ได้ลงทุนลงแรงไปแล้วไม่ใช่น้อยในการทำ SEO
ก็อยากฝากว่า ในการเลือกคีย์เวิร์ดมาทำ ไม่ใช่เห็นว่ามี Search Volume มากมายแต่อย่างเดียว อยากให้พิจารณาความตรงกันกับธุรกิจของคุณด้วย
Search Intent รู้ใจว่าที่ลูกค้า รู้ใจ Google
นักทำ SEO หลายท่านโดยเฉพาะมือใหม่หัดทำมักจะมองข้ามสิ่งๆ หนึ่งไป นั่นคือความต้องการของผู้ใช้เบื้องหลังคีย์เวิร์ด (Search Intent) ที่หยิบมาทำ SEO ขอขยายความแบบนี้ว่า…
สมมุติว่าคุณทำเว็บไซต์ที่เต็มไปด้วยบทความดีๆ แนะนำการเตรียมตัว เตรียมสอบงานราชการ เช่น เตรียมตัวอย่างไรให้สอบปลัดอำเภอติด เป็นต้น
โดยมีความหวังจะติดหน้าแรกคีย์เวิร์ด “หางานราชการ”
ผมเสียใจที่ต้องบอกว่ามันไม่ง่ายอย่างที่คิดครับ เพราะว่าคู่แข่งของคุณที่ติดหน้าแรกจะถูกจัดอยู่ในประเภท Job Portal ที่เน้นงานราชการที่ผู้ใช้งานเครื่องมือค้นหาเข้าไปสมัครได้ ไม่ใช่บทความ (Article) ที่มุ่งเน้นให้ข้อมูลหรือความรู้อย่าง (Information) ที่คุณกำลังทำ
ดังนั้นก่อนที่จะลงทุนลงแรงเดินหน้าทำ SEO แบบเต็มสูบ คุณควรศึกษาให้ดีก่อนว่า Google ชอบที่จะแสดงเนื้อหาแบบไหนในหน้าผลลัพธ์การค้นหา แล้วก็พยายาม Match เนื้อหาประเภทนั้นๆ ให้มากที่สุด เพื่อเพิ่มโอกาสในการติดอันดับ
เนื่องจากเรื่องนี้มีความสำคัญมาก เพื่อความเข้าใจแบบกระจ่างแจ้ง ขอยกอีกสักตัวอย่าง ให้คุณลองหาคำว่า “จาวา” ใน Google
ถ้าลองคุณเปิดเว็บเพจที่ติดอันดับในหน้าแรกขึ้นมาดู คุณจะเห็นว่าเว็บเพจเหล่านี้สามารถถูกจัดอยู่ใน 2 ประเภทได้แก่
1. ประเภทที่ให้ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นภาษาจาวา เช่น www.java.com/en/download/
2. ประเภทหนึ่งจะเน้นให้ข้อมูล หรือสอนเขียนภาษาจาวาในรูปแบบบทความภาษาจาวา เช่น th.wikipedia.org/wiki/ …
เอาละสิ! คุณต้องนำเสนอเนื้อหาในรูปแบบไหน?
ไม่ยากครับ ถ้า Search Intent มีมากกว่าหนึ่งอย่าง ให้คุณลองสังเกตุดูว่าเว็บเพจที่ติดอันดับต้นๆ นั้นทำเนื้อหาประเภทไหน ก็ให้คุณทำเว็บเพจให้สอดคล้อง เช่นในกรณีนี้อันดับที่ 1-3 เป็นเว็บเพจที่ให้ดาวน์โหลดทั้งหมด ก็ให้คุณทำตามนั้น เนียนๆ ตามเขาไป
3. BackLink
ลิงก์หรือที่ภาษาฝรั่งเรียกว่า Hyperlink คืออ็อบเจกต์ในหน้าเว็บเพจในรูปของตัวหนังสือหรือรูปภาพ ทำหน้าที่เชื่อมโยงเว็บเพจเข้าด้วยกัน
ทำความเข้าใจความแข็งแรงเชิง SEO (Authority)
ในทาง SEO เมื่อมีเว็บไซต์อื่นลิงก์มายังเว็บไซต์คุณ เปรียบเสมือนเหมือนกับการแนะนำหรือการรับรองจากบุคคลที่สาม ทำให้เว็บไซต์ของคุณมีความน่าเชื่อถือในสายตา Google มากขึ้น
ลิงก์จากภายนอกเหล่านี้ยังทำให้ความแข็งแรงเชิง SEO โดยรวม (เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Domain Authority – DA หรือ Domain Strength – DR) ของเว็บไซต์คุณสูงขึ้นด้วย
DR สามารถถูกส่งผ่านไปยังหน้าเว็บเพจต่างๆ ในเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ที่เชื่อมโยงกันเองภายใน หรือ Internal Links หน้าไหนได้รับลิงก์จากหน้าอื่นหรือเว็บอื่นมาก ความแข็งแรงเชิง SEO ของหน้านั้นๆ (Page Authority – PA หรือ URL Strength – UR) ก็จะสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว
สรุปสั้นๆ ว่าลิงก์เป็นองค์ประกอบของการ SEO ที่สำคัญมากๆ ในการทำ Ranking โดยเฉพาะเมื่อคุณทำ Keywords ที่มีการแข่งขันสูงๆ
4. On-Page SEO
เราได้เรียนกันไปแล้วว่า DR หรือความแข็งแรงเชิง SEO ของทั้งเว็บไซต์สามารถถูกส่งผ่านไปยังส่วนต่างๆ ของเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ที่เชื่อมโยงกันภายใน หรือ Internal Links
ส่งผลให้เว็บเพจในเว็บไซต์นั้นๆ แม้ Onpage SEO หรือคอนเทนต์ไม่ดีมาก ก็ติดอันดับดีๆ ได้
อันดับ | URL | DR | UR | Backlinks |
---|---|---|---|---|
5 | marcuscode.com | 8 | 10 | 1 |
6 | sites.google.com | 93 | 14 | 0 |
จากตัวอย่างในตารางจะเห็นว่า
sites.google.com/site/benzthitiya/khwam-ru-beuxng-tn-keiyw-kab-java
ขึ้นมาอยู่อันดับที่ 6 ได้เพราะคือ DR สูงมาก (93) แม้ว่าจะมีปัญหา On-Page SEO แบบชัดเจนอยู่ เช่น
1. มีปํญหามีไฟล์รูปภาพที่หายไป (Broken Image)
2. ปัญหาที่มีหน้าเปล่าๆ หรือในภาษา SEO เราเรียกว่า Thin Content ดังนี้
ถึงลิงก์จะเป็นสิ่งสำคัญลำดับต้นๆ ในการทำอันดับให้คีย์เวิร์ด การทำ On-Page SEO ก็เป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้
ในตัวอย่างนี้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเว็บเพจ http://marcuscode.com/lang/java ที่มี DR, UR ต่ำกว่า แต่กลับมี Ranking สูงกว่าได้จากการทำ Onpage ที่ดีกว่า
โดยปกติ Google จะให้ความสำคัญและเชื่อถือเว็บไซต์ที่มีค่า DR สูงอยู่แล้ว ถ้าเว็บเพจอันดับที่ 6 ได้รับการปรับแต่งให้ถูกหลัก On-Page SEO มากขึ้น หรือมีลิงก์ชี้มาจากเว็บไซต์อื่นเพิ่มเติมเข้ามา โอกาสที่จะแซงหน้าเว็บเพจอันดับที่ 5 ขึ้นไปมีไม่น้อยเลยทีเดียว
สรุปชัดๆ อีกที
ทั้ง 4 ปัจจัยที่ผมพูดถึงนี้ไม่ควรใช้แยกกัน แต่ควรนำมาวิเคราะห์ร่วมกัน โดยขอรวม BankLink กับ On-Page เข้าด้วยกันเรียกว่า Competition (การแข่งขัน)
ถ้าคุณเลือก keywords ที่มีคนค้นหามากในแต่ละเดือน (Search Volume) แถมง่ายด้วย (Competition ต่ำ) แต่ไม่ตรงกับสินค้าหรือบริการของคุณ (Relevancy)
Search Volume | Relevance | Competition |
---|---|---|
✔️ | ❌ | ✔️ |
ตัวอย่างเช่น
คุณดำรงชีพด้วยการเป็นติวเตอร์สอนคณิตศาสตร์ ถ้าคุณเลือกทำคีย์เวิร์ด เช่น “สอนเลขฟรี” เป็นต้น ก็อาจทำให้เสียเวลาไปโดยใช่เหตุ
ถ้าคุณเลือก keywords ที่ตรงกับสินค้า/บริการแล้ว การแข่งขัน (Competition) ก็ไม่สูง แต่มีคนหาคำนี้ 20 ครั้งต่อเดือน
Search Volume | Relevance | Competition |
---|---|---|
❌ | ✔️ | ✔️ |
แบบนี้คุณส่งลูกเรียนจบมหาวิทยาลัยไม่ได้แน่ๆ
ถ้าคำที่คุณเลือกมาทำมีปริมาณค้นหารายเดือนดี (Search Volume) ตรงกับสินค้าที่คุณขายอยู่ด้วย (Relevancy) แต่ยากมาก (Competition)
Search Volume | Relevance | Competition |
---|---|---|
✔️ | ✔️ | ❌ |
แบบนี้คุณอาจต้องเสียเวลาแรมปี เสียเงินหลักแสนกว่าจะถึงฝั่งฝัน
คีย์เวิร์ดทีคุณต้องการเลือกมาทำ ควรที่จะมีคุณสมบัติครบทั้ง 4 ข้อ เพื่อเพิ่มโอกาสในการติดอันดับที่ต้องการให้ได้มากที่สุด
ก่อนจะจบบทนี้ขอสรุปย้ำชัดๆ อีกสักครั้งว่าการวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันนั้น…
- ให้เลือกคีย์เวิร์ดที่มีคู่แข่งที่พอฟัดพอเหวี่ยงกับเว็บไซต์ของคุณ เช่น มี DR, และ UR พอๆ กัน หรือสูงกว่าคุณไม่มากนัก เช่น ไม่เกิน 10-20 แต้ม
- อย่างไรก็ตามคู่แข่งมี DR สูงมาก ใช่ว่าจะแข่งไม่ได้ ถ้าหน้าเพจของคู่แข่งมีลิงก์ไม่มากหรือไม่มีเลยแสดงว่าหน้านี้ติดอันดับเพราะ DR ของเว็บไซต์ แบบนี้คุณมีโอกาสครับ
- สิ่งต่อไปที่ต้องทำให้แน่ใจว่าแข่งได้คือคู่แข่งมีการทำ On-Page SEO ดีหรือไม่อย่างไร คุณพอที่จะสร้างคอนเทนต์คุณภาพดีกว่าได้ไหม
- สุดท้ายอย่าลืมตรวจสอบความต้องการของผู้ใช้งานที่อยู่เบื้องหลังคีย์เวิร์ด (Search Intent)
หาคีย์เวิร์ดภาคปฏิบัติ
เพื่อให้คุณเข้าใจทฤษฏีที่เราได้เรียนรู้มาจนตรงนี้มากขึ้น ในหัวข้อนี้ขอยกตัวอย่างการวิเคราะห์คีย์เวิร์ดของร้านเสริมความงามแห่งนึงใน กทม.
ร้าน อ. หญิง เป็นร้านเสริมสวยร้านเล็กๆ ในห้างใจกลางเมือง ให้บริการด้านความงาม เช่น สักคิ้ว สักปาก ต่อขนตา เป็นต้น
1. หาคำที่ตรงกับสินค้า/บริการ (Relevance)
จากรายการ keywords ที่คุณหามาให้คุณนั่งไล่ดู ตัดคำที่ไม่เกี่ยวกับธุรกิจของคุณแล้วเก็บคำที่ตรงไว้
ตัวอย่าง:
สมมุติว่าที่ร้าน อ. หญิง ไม่ได้ทำปากชมพูด้วยการยิงเลเซอร์
- ก็ตัดคำพวก “เลเซอร์ปาก (ปริมาณการค้นหา 320 ครั้ง/เดือน)
- “เลเซอร์ ปาก ชมพู” (ปริมาณการค้นหา 1000 ครั้ง/เดือน)
ถึงจะมีปริมาณการค้นหาที่ดี ก็เปล่าประโยชน์ ตัดทิ้งไปอย่าเสียดาย
2. ปริมาณการค้นหา OK ไหม?
ให้พิจารณาปริมาณการค้นหาของแต่ละคำโดยใช้ Google Keyword Planner
ยกตัวอย่าง
คำที่ผมจะไม่ทำ เช่น คำว่า “สัก ปาก ชมพู ถาวร” ถึงจะตรงกับสินค้า ร้าน อ. หญิง \แต่พอดูปริมาณการค้นหาที่มีอยู่ประมาณ 10 ครั้ง/เดือน ก็คงต้องบอกผ่าน
3. วัดความสามารถในการแข่งขัน (Competitive Analysis)
ในการทำ SEO คำที่คุณจะทำแต่ละคำมีคู่แข่งแตกต่างๆ กันไป บางคำยาก บางคำง่าย ตรงนี้ต้องชั่งใจ และสมดุลย์ให้ดีครับว่าถ้าต้องการทำคีย์ที่ค่อนข้างยาก ทำได้ครับ แต่งบประมาณและระยะเวลาในการประสบความสำเร็จนั้นก็จะมากตามไปด้วย
โดยทั่วไปผมจะแนะนำลูกค้าว่าให้ทำคละกัน ทั้งคำที่ยากและง่ายในระยะสั้นคำที่ไม่ยากมากนักก็จะส่งผลก่อนคืออันดับจะดีเร็วกว่า
MOZ BAR – เครื่องมือวัดความแข็งแรง SEO
การวัดความสามารถในการแข่งขันของแต่ละคีเวิร์ดมีหลากหลายโปรแกรมที่ช่วยย่นระยะเวลาในการทำได้ ในตัวอย่างนี้เราจะใช้เครื่องมือคือ MOZ Bar ซึ่งเป็น Chrome Extension ที่คุณ:
สามารถโหลดมาใช้กันได้ฟรีๆ อีกเช่นกันครับ ก็ให้ โหลดมา แล้วติดตั้ง ให้เรียบร้อยก่อน รูปลักษณ์เขาก็จะเป็นตัวเอ็มเล็กๆ ดังรูปด้านล่างในกรอบสีแดง
ต่อไปจะเป็น 5 metrics (Onpage SEO + BackLink) หรือตัวแปรที่เราจะใช้เป็นตัววัดความสามารถในการแข่งขันคู่แข่งแต่ละรายของคุณ
- Domain Authority (DA): ความแข็งแรงเชิง SEO ของ Domain, ทั้งเว็บ
- Page Authority (PA): ความแข็งแรงเชิง SEO เฉพาะหน้าเว็บ เป็นหน้าๆ ไป
- Links: ลิ้งค์ที่ชี้มายังหน้าเว็บเพจ คู่แข่งของคุณ
- Title: Page Title หรือชื่อเว็บเพจของคู่แข่ง
- Content: ประเภทเนื้อหาของเว็บเพจคู่แข่ง ว่าดีไม่ดียังไง คุณจะทำให้ดีกว่าได้ยังไง
ในขั้นตอนนี้ ให้คุณพิมพ์คีย์เวิร์ดที่ผ่านขั้นตอนที่ 1 และ 2 ลงไปใน Google ทำทีละคำนะครับ ในที่นี้ผมยกต้วอย่างโดยใช้คำว่า “สักปากชมพู” (ปริมาณการค้นหา 2900 ครั้ง/เดือน)
จะเห็นว่าเว็บร้าน อ. หญิง จะอยู่ในอันดับที่ 5 ดังนั้นจุดประสงค์ของผมก็คือ การดันต่อให้ไปติดอันดับ 1
ผมก็จะไล่จดค่าจาก Moz bar (แถบสีเทาใต้รายการ) Page Title, PA, DA, Link ของคู่แข่งที่อันดับดีกว่า และบันทึกค่าไว้ใน excel เพื่อความสะดวกในการวิเคราะห์ต่อไป
จากตารางที่ได้บันทึกค่าไว้จะเห็นว่า
- Domain Authority: เว็บคู่แข่งแต่ละเว็บ เกิดมานาน เป็นที่รู้จักดีในวงกว้าง เช่น เว็บ Kapook, Pantip เป็นต้น และมีความแข็งแรงในเชิง SEO สูงมาก ดูได้จากค่า Domain Authoriy (DA) ตั้งแต่ 44-95 (จาก 100) ในขณะเดียวกันเว็บ อ. หญิง (ajying.com) มีค่า DA เพียง 15 ถือว่าต่ำมากกก
- Page Authority (PA) ของเว็บสักปาก ร้าน อ. หญิง อยู่ที่ 29 จัดว่ามีความสามารถในการแข่งขันระดับที่พอใช้ เมื่อเทียบกับคู่แข่ง
- On-Page SEO: จะเห็นว่าเว็บ อ. หญิง และคู่แข่ง มีการทำ Onpage SEO ค่อนข้างดี กล่าวคือ มี keyword ใน Page Title กันหมด ตรงนี้ถือว่าไม่ได้เป็นแต้มต่อให้เว็บ ajying.com
- ajying.com มี 72 ลิ้งค์ ถือว่าเป็น ปัจจัยหลัก ที่ทำให้เว็บ อ. หญิง ขึ้นมาติดหน้า 1 ได้
สรุปสิ่งที่ผมจะทำเพื่อให้อันดับดียิ่งขึ้น
- สร้างลิ้งค์เพิ่มอย่างต่อเนื่องไปแล้ว
- เพิ่ม content ในลักษณะบทความ ที่ให้ความรู้แก่ผู้เข้ามาเยี่ยมชมมากขึ้น
- เพิ่มรีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากยิ่งขึ้นก็ช่วยได้ด้วยเช่นกัน
คู่แข่งแบบไหน หนีให้ไกล อย่าไปยุ่ง
มีบางคีย์เวิร์ดที่ผมเห็นว่าเป็นคำต้องห้ามไม่ควรนำมาทำ SEO ให้เมื่อยตุ้มเพราะทำไปโอกาสที่คุณจะติดอันดับต้นๆ ในหน้าผลลัพธ์การค้นหานั้นริบหรี่ยิ่งกว่าแสงหิ่งห้อยเสียอีก
คำพวกนี้จะเกี่ยวกับบริการหรือผลิตภัณฑ์อย่างเป็นทางการของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง ขอยกตัวอย่างให้เป็นภาพด้วยคำว่า “จาวา” (จาวา หรือ JAVA คือ ภาษาที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท ซันไมโครซิสเต็มส์ (Sun Microsystems Inc.) เป็นภาษาสำหรับเขียนโปรแกรมภาษาหนึ่ง) ดังนี้…
1. ผมเริ่มด้วยการเปิดรายงาน Keywords explorer ขึ้นมาด้วยการไปที่ https://ahrefs.com/ แล้วคลิกที่เมนู Keywords explorer
2. เลือก Google และ 3. เลือก Thailand ในกรณีที่ต้องการหาข้อมูลจาก Google ประเทศไทยป้อนคำว่า
4. ป้อนคีย์เวิร์ด “จาวา” ลงไปในช่อง แล้วกดปุ่มแว่นขยาย เพื่อทำการดึงข้อมูลคีย์เวิร์ดออกมา
ahrefs จะทำการดึงข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับคีย์เวิร์ดออกมาแสดง เช่น ปริมาณการค้นหารายเดือน (Search Volume), ความยากของคีย์เวิร์ดในการติดอันดับในหน้าแรก Google (Keyword difficulty) เป็นต้น
5. ถ้าคุณเป็นบริษัทที่รับสอนเขียนโปรแกรมภาษาจาวา การหยิบคำว่า “จาวา” มาทำ SEO นั้นดูเหมือนจะเข้าท่าและเป็นไอเดียที่ดีเพราะว่านอกจากจะสอดคล้องกับธุรกิจของคุณแล้วยังมีการค้นหารายเดือนดีอีกด้วย แต่ทำไมผมบอกไว้ก่อนหน้าว่าคำนี้เป็นคำต้องห้าม? มาดูหน้าผลลัพธ์การค้นหาในรายละเอียดกันก่อนครับ แล้วคุณจะรู้ว่าทำไม…
เลื่อนเมาส์ลงมาด้านล่าน ใน Section ชื่อ SERP overview for “จาวา” จะแสดงหน้าผลลัพธ์การค้นหาใน Google ของคีย์เวิร์ด “จาวา”
Google เลือกเว็บไซต์ทางการของภาษา “จาวา” มาติดอันดับต้นๆ คือทั้งอันดับที่ 1 และ 2 ในหน้าผลลัพธ์การค้นหาถือว่าสมเหตุสมผลเพราะตรงกับคำค้นหามาก ถ้าคุณไม่ได้เป็นเจ้าของบริษัท ซันไมโครซิสเต็มส์ โอกาสที่คุณจะไปแย่งอันดับที่ 1 หรือ 2 มาจาก www.java.com แทบไม่มี
คอลัมน์ Backlinks บอกว่าแต่ละเว็บเพจในหน้าผลลัพธ์การค้นหามีลิงก์จากเว็บอื่นชี้ไปหากี่ลิงก์ ในกรณีนี้เว็บเพจอันดับ 1 หรือ 2 มี 18,309, และ 115,293 ลิงก์ ตามลำดับ ปริมาณลิงก์ภายนอกขนาดนี้รวมพลังกับลิงก์ภายในส่งผลให้ความแข็งแรงเชิง SEO หรือ UR ของทั้งสองเว็บเพจถีบตัวขึ้นไปที่ 47 และ 81 ตามลำดับ ซึ่งถือว่าเป็นค่าที่สูง ถ้าคุณต้องการทำคำนี้ ลองคำนวณทรัพยากรที่คุณมีอยู่ครับว่าคุณต้องใช้เวลาและเงินเท่าไรในการหาลิงก์เพื่อแย่งอันดับของคู่แข่งรายนี้มา
นอกจากนี้ 7 จาก 9 เว็บไซต์ที่ติดหน้าแรกเป็นเว็บไซต์ที่มีความแข็งแรงเชิง SEO (DR) สูงมากเช่น…
หน้าผลลัพธ์การค้นหา Google ใน ahrefs
- https://www.java.com/ มี DR = 91 (เต็ม 100)
- https://java-runtime-environment.th.softonic.com/ มี DR = 87 (เต็ม 100)
- https://th.wikipedia.org/ มี DR = 87 (เต็ม 100)
- https://www.oracle.com/ มี DR = 92 (เต็ม 100)
DR ระดับนี้ใช้เวลาแรมปีกว่าจะได้มาผ่านทางการสร้างลิงก์ ถ้าเว็บไซต์ของคุณมี DR ห่างกับเว็บเหล่านี้มาก โอกาสในการติดอันดับดีๆในหน้าแรกก็จะมีน้อยลงไป
เมื่อนำเหตุผลดังกล่าวมาวิเคราะห์ร่วมกันสรุปได้ว่าคีย์เวิร์ด “จาวา” เป็นคำต้องห้าม ถ้าคุณพบคีย์เวิร์ดลักษณะนี้ผมแนะนำว่าไม่ต้องวิเคราะห์อะไรต่อ หาคำอื่นมาวิเคราะห์ต่อไปเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา
คู่แข่งมี DR สูง ใช่ว่าจะแข่งไม่ได้
จากตัวอย่างที่ผ่านมาถ้าสังเกตดีๆ คุณจะเกิดความสงสัยว่า เอ๊ะ! ทำไมเว็บเพจอันดับที่ 5 (marcuscode.com/lang/java) ซีงมีแค่ลิงก์เดียว มี DR=8 ถึงได้อันดับดีกว่าเว็บอันดับที่ 6 และ 7 ที่มี DR, UR, และจำนวนลิงก์สูงลิบลิ่ว
เรามาหาคำตอบไล่กันโดยไล่ไปแต่ละกรณีครับ เริ่มจากเว็บอันดับที่ 7 (www.oracle.com/java/technologies/) ผมได้พูดไปแล้วว่าองค์ประกอบหลักๆ ที่เราจะใช้วัดความสามารถในการแข่งขันมีอยู่ 4 องค์ประกอบ รูปด้านบนชี้ให้เห็นชัดเจนว่าเว็บเพจในอันดับที่ 7 ชนะแบบขาดลอยทั้ง 3 องค์ประกอบ ได้แก่ DR, UR, และลิงก์
เราไปดูรูปร่างหน้าตา www.oracle.com/java/technologies/ แล้วจะรู้ว่าหน้านี้ควรปรับปรุงอะไร…
สิ่งที่ขาดไปและต้องการเติมเต็มของหน้านี้คือ …
- เนื้อหาของหน้านี้เป็นภาษาอังกฤษ จำได้ไหมครับว่าคำค้นหาที่ผมป้อนเข้าไปเป็นภาษาไทย (“จาวา”) และผมใช้ Google ประเทศไทย (Google.co.th) อยู่ที่ประเทศไทย ดังนั้นเนื้อหาที่หน้าเพจแสดงควรเป็นภาษาไทย
- เนื้อหาน้อยไปเมื่อเทียบกับคู่แข่งอย่างเว็บเพจอันดับที่ 5 ให้คุณเปิด www.marcuscode.com/lang/java แล้วแล้วลองเปรียบเทียบกันดู…
จะเห็นว่าเนื้อหาของเว็บเพจอันดับที่ 6 แน่นกว่ามาก เรียกได้ว่าผู้ที่ต้องการเรียนรู้เรื่องการเขียนโปรแกรมภาษาจาวา เข้ามาแล้วสามารถตักตวงความรู้ไปได้มากโข สามารถนำไปใช้เริ่มต้นเขียนโปรแกรมกันได้เลย
อีกหนึ่งเหตุผลสำคัญคือเว็บ marcuscode.com เป็นเว็บไซต์เฉพาะทางด้านการเขียนโปรแกรม (ถึงแม้จะไม่ได้เกี่ยวกับภาษาจาวาอย่างเดียว Google ก็ยังคงมองว่าอยู่ในหัวข้อเดียวกันคือการเขียนโปรแกรม) ที่มีเนื้อหากว่า 200 หน้าในฐานข้อมูล
คุณสามารถหาจำนวนเว็บเพจคร่าวๆ ในฐานข้อมูล Google
สาธิตการใช้ site: operator เพื่อหาจำนวนหน้า Index ในฐานข้อมูล Google
ได้ด้วยการป้อนคำสั่ง site:ชื่อเว็บไซต์ เช่นในกรณีนี้ให้คุณป้อน site:marcuscode.com ลงไปใน Chrome
ตอนนี้คุณได้รู้ครบทุกกระบวนท่าในการหา Keyword ที่มีศักยภาพสูงในการดันให้ติดหน้าแรกของเครื่องมือค้นหาอย่าง Google แล้ว แนะนำให้นำความรู้ที่ได้รีบไปประยุกต์ใช้ ลงมือทำเลย ลองถูกลองผิดเลย เปลี่ยนทฤษฏีเป็นประสบการณ์ เริ่มดึงคนเข้าเว็บ เพิ่มยอดขายวันนี้เลย
ขอบคุณมากสำหรับเนื้อหา เป็นประโยชน์มากๆค่ะ
รบกวนขอสอบถามรายละเอียด สามารถติดต่อทางไหนได้บ้างคะ
email สอบถามได้ครับที่ [email protected]
พี่อยากให้ปรับเวป
ได้ครับ ผมส่งรายละเอียดเบื้องต้นไปใน inbox เฟสบุ้ค สอบถามเพิ่มเติมได้ที่นั่น
ขอบคุณสำหรับความรู้มากๆครับ อยากเรียนแบบจริงๆจัง ตอนนี้ผมเรียน ปวส ด้านไอที มีความสนใจในด้านนี้ รบกวนพี่ช่วยให้ความรู้ผมเรื่อยๆนะครับ
ขอบคุณครับ ที่ให้ความสนใจกับเนื้อหาในเว็บนี้ ทีมงานจะทยอยตีพิมพ์บทความใหม่ๆ ให้ได้อ่านกัน บ่อยๆ ครับ 🙂
บทความดีมากค่ะ ทำให้เข้าใจขึ้นเยอะ
ทีมงานฝาก ตอบมากว่า “ขอบคุณมาก” ครับ 😉
เป็นมือใหม่หัดทำคะ
ครับผม
ขอบคุณมากครับ ผมกำลังศึกษาด้านseoครับ เเต่งานประจำนี้เป็นช่างซ่อมครื่องcnc ครับ เเหวกเเนวมากมาด้านไอที
ลองไล่อ่านบทความในเว็บนี้ดูครับ มีอะไรสงสัยถามทีมงานได้ แต่อาจจะตอบช้าไปบ้างต้องขออภัย