banner - techical seo
Home » Technical SEO » Technical SEO คืออะไร ไขข้อข้องใจจบที่นี่

Technical SEO คืออะไร ไขข้อข้องใจจบที่นี่

Technical SEO คือเทคนิคที่นำมาใช้ปรับแต่งเว็บไซต์ อาจต้องใช้ทักษะในการเขียนโปรแกรม (Coding) หรือการปรับแต่ง Server ผนวกเข้ามาด้วย เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องมือค้นหาสามารถพบและรวบรวมข้อมูลหน้าทั้งหมดบนเว็บไซต์ได้อย่างง่าย


ขอยกตัวอย่างเทคนิคที่ควรทำ เช่น ความเร็วในการโหลดไซต์ (Loading Speed) การเพิ่มประสิทธิภาพอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile Optimization) เป็นต้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นดังนี้

ความเร็วในการโหลดเว็บไซต์

เว็บที่โหลดเร็วหมายถึงคนเข้าเว็บสามารถใช้งานเว็บคุณได้อย่างไหลลื่น รวดเร็ว ส่งผลให้ผลลัพธ์ทางธุรกิจ (Conversion) เช่น การขายของออนไลน์ และอื่นๆ สูงขึ้นด้วย เสิร์ชเอนจินเองก็ชอบเว็บโหลดเร็วและมักให้รางวัลเป็น Ranking ที่ดี

Google ได้สร้างเครื่องมือที่ให้คำแนะนำทางเทคนิคเพื่อแก้ไขปัญหาความเร็วไว้ ใช้กันได้ฟรีๆ ครับ

หน้าจอ Google PageSpeed Insights

อัลกอริธึมของ Google ให้ความสำคัญกับมือถือเป็นหลัก (Mobile First Indexing) หมายความว่าถ้าเว็บคุณโหลดได้เร็วบนเดสก์ท็อป แต่โหลดช้าบนมือถือ Google จะถือว่าไซต์ของคุณช้า คำแนะนำที่ PageSpeed Insight ให้ไว้นั้นค่อนข้างละเอียดทั้งในอุปกรณ์เคลื่อนที่และเดสก์ท็อป แนะนำว่าแก้ให้ได้มากเท่าที่จะทำได้ครับ

ถ้าคุณอยากได้มุมมองทางเทคนิกอื่นๆ ขอแนะนำอีก 2 เครื่องมือที่นิยมใช้กัน คือ GTMetrix, และ webpagetest.org ตัวหลังนี้มีดีที่มี Server ที่กรุงเทพด้วย ถ้าเว็บเซิร์ฟเวอร์คุณอยู่ในไทย ผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์จะมีความถูกต้องสูง

การเพิ่มประสิทธิภาพอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile Optimization)

อย่างที่บอกไปแล้วว่าเว็บเวอร์ชั่นมือถือนั้นสำคัญที่สุด คุณสามารถใช้ Google Search Console เช็คดูว่าเว็บคุณมีปัญหาอะไรที่ต้องแก้

GSC-mobile-usability

หากคุณพบว่าเว็บไซต์ของคุณมีปัญหาการแสดงผลที่ไม่เหมาะกับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แนะนำให้จัดลำดับความสำคัญสูงที่สุดและแก้ปัญหาเหล่านี้ให้เสร็จโดยเร็ว

ปรับ HTTP ให้ปลอดภัยน่าเชื่อถือ

ในปี 2014 Google ได้ประกาศให้ HTTPS มีผลกระทบต่อ Ranking ตอนนั้นมีเว็บผลกระทบต่อเว็บไซต์น้อยกว่า 1% ของเว็บทั่วโลก ต่อมาได้ขยับให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของเว็บมากขึ้นเรื่อยๆ ณ ปัจจุบันกูเกิ้ลได้แสดงคำเตือนผู้ใช้ก่อนที่จะเข้าชมเว็บที่ไม่ได้ติดตั้ง SSLChrome เตือนผู้ใช้ก่อนเข้าเว็บที่ไม่ได้ใช้ SSL
และแสดงคำเตือน “ไม่ปลอดภัย (Not secure)” ใน Chrome อีกด้วย

ข้อความเตือน Non-Secured ใน Chrome
จะเห็นว่าถ้าเว็บคุณดูไม่ปลอดภัย อาจสร้างความไม่น่าเชื่อถือและอาจทำให้เสียโอกาสทางธุรกิจไปบางส่วนได้ แนะนำให้ติดตั้ง HTTPS ครับ เสียค่าใช้จ่ายรายปีนิดหน่อย แบบฟรีก็มีแต่อาจมีข้อจำกัดบาง การติดตั้งก็ไม่ได้ยากเย็นอะไร

XML Sitemap

แผนผังเว็บไซต์ XML หรือ XML Sitemap คือรายการที่มีโครงสร้างเว็บไซต์ มีหน้าทั้งหมดในเว็บไซต์อยู่ในไฟล์ XML ช่วยให้ Google เข้าใจไซต์ของคุณและค้นหาเนื้อหาทั้งหมดได้สะดวกขึ้น

ตัวอย่างแผนผังเว็บไซต์ XML:

ตัวอย่าง XML Sitemap

หากคุณไม่แน่ใจว่าจะสร้างแผนผังเว็บไซต์อย่างไรและเว็บไซต์ของคุณใช้ WordPress คุณสามารถสร้างแผนผังเว็บไซต์ง่ายๆ ด้วยปลั๊กอิน เช่น Google XML Sitemap Generator ที่ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างแผนผังเว็บไซต์ XML โดยเฉพาะ

เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในเว็บ เช่น สร้างหน้าเพจใหม่ เป็นต้น ควรแจ้งให้ Google รู้ถึงการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ ด้วยการส่ง XML Sitemap ใน Google Search Console (GSC)

ส่งแผนผังเว็บ XML ใน GSC

  1. คลิกที่เมนู Sitemaps
  2. ใส่ XML Sitemap และกดปุ่ม Submit
  3. ถ้ามีจุดผิดพลาด (Syntax Error) ในแผนผังเว็บไซต์ของคุณ GSC จะแจ้งให้คุณรู้ (ดูเลข 3 ในรูปด้านบน) ให้คลิกดูรายละเอียดเพิ่่มเติมที่ลิงก์ Errors แล้วก็แก้ตามนั้น

URL Friendly SEO

Webmaster บางคนสร้างเว็บเพจใช้ URL แปลกๆ เช่น

http://website.com/bcca/index.php/MzB8fHJlZy9yZXBzdHVkZW50dGltZXRhYmxlL2luZGV4Mw

URL ในลักษณะนี้คนอ่านไม่เข้าใจ เครื่องมือค้นหาอ่านก็งง

คำแนะนำในการสร้าง URL ที่ถูกจริตกับ SEO

  • ออกแบบและใช้โครงสร้าง URL ที่คงเส้นคงวา – เช่น หากคุณมี URL ของหมวดหมู่กาแฟ เช่น website.com/coffee ก็ควรที่จะใส่หน้าที่เกี่ยวกับกาแฟทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่นี้ แต่ถ้านำเพจเกี่ยวกับข้าวผัดกระเพรามาใส่คงไม่เหมาะ
  • ใส่คีย์เวิร์ดหลักลงไปเป็นส่วนหนึ่งของ URL ด้วย แต่ควรระวังอย่าใส่มากไป จนเข้าข่าย keyword stuffing ล่ะ
  • URL สั้น – มักทำอันดับได้ดีกว่ายาวๆ

สรุปสั้นๆ ว่า URL ควรอ่านแล้ว ได้ใจความ กระชับ ไม่เยิ่นเย้อ อย่าลืมใส่คีย์เวิร์ดหลักลงไปด้วย

Robots.txt, Meta NoIndex, & Meta NoFollow

คุณสามารถบอกเสิร์ชเอ็นจิ้นว่าคุณต้องการให้เนื้อหาในเว็บไซต์ของคุณถูกจัดการแบบไหน อย่างไร เช่น หากคุณไม่ต้องการให้ข้อมูลส่วนใดส่วนหนึ่งของเว็บไซต์เข้าถึงโดยบอท คุณสามารถใช้ไฟล์ robots.txt เพื่อระบุความต้องการให้เสิร์ชเอนจิ้นรู้

ตัวอย่างแสดงการบล็อก (Disallow) บอทไม่ให้เข้าถึงแฟ้มชื่อ secret ในเซิร์ฟเว่อร์

User-agent: *
Allow: /
Disallow: /secret/

คำเตือน: แนะนำให้คุณศึกษาการใชังาน robots.txt ให้เข้าใจก่อน ไม่อย่างนั้นอาจพลาดพลั้งไปบล็อกผิดส่วน ส่งผลให้บางส่วนหรือทั้งเว็บไซต์ถูกเอาออกจากฐานข้อมูล Google ได้

นอกจากไฟล์ robots แล้ว คุณยังสามารถใช้เมตาแท็ก robots (robot meta tags) ในการบล็อกเนื้อหาเป็นหน้าๆ ไป ออกจากดัชนีเครื่องมือค้นหาได้

ในโพสต์นี้ขอแตะคร่าวๆ ไว้เท่านี้ก่อนแล้วกันครับ วันหน้าถ้ามีโอกาสจะมาเจาะลึกเทคนิคการปรับแต่งเว็บให้แรงส์เป็นที่ถูกใจของ Google และเครื่องมือค้นหาอื่นๆ ให้ได้อ่านกันในรายละเอียด

Similar Posts