สอนทำ xml sitemap
Home » Technical SEO » XML Sitemap ฉบับมือใหม่หัดสร้าง

XML Sitemap ฉบับมือใหม่หัดสร้าง

หลายคนยังคลุมเคลือในหลายหัวข้อเกี่ยวกับ Search Engine Optimization แล้วไอ้เจ้า XML Sitemap ซึ่งเป็นหัวข้อที่เราจะพูดกันในวันนี้ ก็เป็นหนึ่งในนั้น บางคนไม่รู้จริงๆ ว่าไฟล์นี้คืออะไร, มีไว้ทำไม แล้วเทคนิคการปรับแต่ง sitemap ให้เป็นที่ LOVE ของ บิ้ก G นั้นทำได้อย่างไร คำถามเหล่านี้ มีคำตอบแล้ววันนี้ ที่นี่

แผนผังเว็บไซต์คืออะไร ?

แผนยังเว็บไซต์ โดยทั่วไปแล้วก็จะเป็นไฟล์ประเภท XML ในนั้นก็จะมีหน้าเพจต่างๆ ที่อยู่ในเว็บของคุณ ที่คุณเลือกที่จะเอามาใส่ไว้ แล้วไอ้เจ้าเอกสารตัวเนี้ยก็จะบอกกับ search engines อย่าง Google หรือ Bing ก็ดี ว่าให้เพิ่มหน้าเหล่านี้ไว้ในฐานข้อมูลด้วยนะ คนจะได้มาหาเจอ

เทคนิค ทิป การปรับแต่ง XML SITEMAP

ส่วนโครงสร้างของ ไซต์แมพนี้ เอาคร่าวๆ ก่อนนะ ก็จะมีข้อมูลประมาณว่า หน้าเพจของคุณแต่ละหน้าถูกสร้างขึ้นเมื่อไร, มีการแก้ไขล่าสุดเมื่อไร และยังบอกระดับความสำคัญของแต่ละหน้าด้วย ซึ่งตรงนี้คุณระบุเองได้หมดเลย

…ก็จะใช้แผนผังไซต์ตัวเนี้ยมาเป็นไกด์ (Guide) เพื่อทำความรู้จักกับเว็บคุณว่ามีกี่หน้า อะไรยังไง มีข้อมูลอะไรบ้างคร่าวๆ แต่ก็นะไม่ได้หมายความว่าพี่กรู (Google) จะดึงทุกสิ่งอย่างใน sitemap XML ของคุณ ไปเก็บไว้ในฐานข้อมูล อันนี้พี่แกก็จะดูๆ แล้วเลือกๆ เอาเฉพาะที่พี่แกสบายใจเท่านั้นนะ เหอๆ

แต่ก็นะสรุปประโยชน์เห็นๆ ก่อนเลยว่าการมีอยู่ของไฟล์ XML นี้ ในเซิร์ฟเวอร์ของคุณ ช่วยทำให้กระบวนการทำงาน การ index หน้าเว็บ ไปเก็บไว้ใน Google.co.th (ยกตัวอย่าง) จะง่าย และรวดเร็วขึ้น

ก็นะทำให้ Google ทำงานง่ายขึ้น มาถึงเว็บคุณก็แวะดูไซต์แมพก่อน ก็รู้เลยว่าโครงสร้างเว็บคุณมีอะไร ยังไง ไม่ต้องเมื่อยตุ้ม เสียเวลามากมาย ไปวิ่งหาเอง อันนี้ อยากให้จด หรือจำก็ได้ว่า อะไรก็ตามที่ช่วยลดการทำงานให้ bots หรือ spiders จะส่งผลให้อันดับโดยรวมของคุณ ดีขึ้นในที่สุด

เว็บประเภทไหนที่ควรใช้แผนผังเว็บ?

โลโก้ Googleขอยกคำของ Google ที่เกี่ยวกับ sitemap มาให้ดูกันสักหน่อย นะครับ ว่า

“ถ้าเว็บของคุณ มีโครงสร้างที่ลิ้งค์เชื่อมโยงถึงกันดีแล้วนั้นน่ะ โดยมาก Spiders หรือ Bots ของเราก็จะสามารถไต่ไปเจอ และรวบรวมข้อมูลจากเว็บของคุณแทบทุกหน้าได้อยู่แล้ว

ทว่า! ถ้ามีแผนผังเว็บ ก็จะยิ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการไต่ และรวบรวมข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะกับเว็บไซต์ ดังต่อไปนี้ ….”

  • ทั้งหลายที่มีขนาดใหญ่ คือจำนวนหน้าเยอะๆ นั่นเอง
  • เว็บที่มีเนื้อหาเยอะ หน้าเยอะ แต่โครงสร้างลิ้งค์ภายใน (Internal links) เชื่อมโยงถึงกันไม่ค่อยดี
  • เว็บใหม่ๆ
  • เว็บที่ใช้เนื้อหาหนักๆ โหลดช้าๆ (Rich media) เช่น มีรูปใหญ่ๆ มีวีดีโอ เป็นต้น
    ก็ชัดเสียยิ่งกว่าชัด แทบจะทุกประเภทเว็บไซต์อะนะครับ ถ้าไม่เหลือบ่ากว่าแรงจนเกินไป สมควรที่จะมีแผนผังเว็บไซต์ไว้ในครอบครอง กันคนละหนึ่งอัน!

มีความสุ่มเสียงอะไรมั่ง ถ้าใช้ sitemap?

พี่น้องครับ ถึง Google เอง ไม่ได้รับประกันว่า bots จะไปอ่านผังเว็บของคุณหรือไม่ อย่างไร แต่ก็พูดชัดครับว่า การมี site map นั้น ในแทบจะทุกรณีจะมีแต่บวก ไม่มีลบต่อเจ้าของเว็บเช่นคุณ ไม่ต้องพูดถึงเรื่องที่ว่า ติดตั้ง map บนเซิร์ฟคุณแล้วจะถูกทำโทษ ranking ตก อะไรเทือกนั้น ไม่มีแน่นอน

สรุปอีกนิดก่อนไปต่อนะครับนะ ว่าถ้าคุณต้องการทำอันดับใน Google แล้วละก็มี ผังเว็บ ไว้เถิดจะเกิดผล ไม่ถูกทำโทษจากเสิร์ชเอ็นจิ้น ชัวร์ อันนี้ กูเกิ้ลเขาบอกมายังงั้นนะ ส่วนตัวเอง ลูกค้าผลทุกราย ผมแนะนำหมดว่า Sitemap ควรที่จะเป็นส่วนนึงของการทำ SEO

แล้ว ผังเว็บแบบ HTML ต่างจาก XML ไหม ยังไง?

หัวข้อนี้ยาวนิดนะ แต่ต้องอารัมภบทกันเยอะหน่อย ถึงเข้าใจ อันนี้ถ้าทำให้ขุ่นข้องหมองจิตกันไป ผู้เขียนต้องขออภัย และอโหสิกรรมกันไว้ล่วงหน้า ด้วยครัช เท่าที่พูดมาตั้งแต่แรก ผมจะพูดรวมๆ เกี่ยวกับแผนผังเว็บ จะมีแตะ XML Sitemap ว่าคืออะไรไปนิดๆ ในหัวข้อแรก นิดหน่อย อันที่จริงถ้าเราจะพูดกันเรื่องแผนผังเว็บไซต์นี้ เขาก็จะพูดกัน 2 ตัว คือ ประเภท XML กับ HTML ความต่าง ความเหมือน มีไหม อย่างไร เราค่อยๆ ไปไล่ดูกันเป็นข้อๆ ดังนี้

1. ความต่างด้านโครงสรา้งภาษา & การใชังาน

ต้องบอกว่าทั้ง HTML และ XML เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า Markup Language ด้วยกันทั้งคู่ ต่างกันที่โครงสร้าง และการใช้งาน

  1. XML หรือ eXtensible Markup Language นั้น เป็นภาษาที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการ เก็บและส่งข้อมูล (Store and transport data) โดยให้ความสำคัญกับตัวข้อมูลมาก ในทางกลับกัน HTML (Hyper Text Markup Language) นั้นจะเน้นเรื่องรูปลักษณ์ และการแสดงผลของข้อมูล
  2. โครงสร้างภาษา หรือ HTML tag จะถูกกำหนดมาตายตัวอยู่แล้ว เช่น ถ้าคุณต้องการแสดงให้ตัวหนังสือในเว็บเป็นตัวหน้า คุณก็ใช้แท็ก หรือ เป็นต้น แต่สำหรับ XML นั้น คุณมีอิสระ ในการให้คำจำกัดดความแต่ละ tag ได้ตามความเหมาะสม ยกตัวอย่าง คุณต้องการเก็บ note ที่ ส่งให้เพื่อน เป็น XML แล้ว รูปร่างหน้าหน้า อาจะป็นประมาณนี้

<note>
<to>Tove</to>
<from>Jani</from>
<heading>Reminder</heading>
<body>Don’t forget me this weekend</body>
</note>

ผมสรุป ความเหมือนและต่างของทั้งสองภาษา อีกที คร่าวๆ มาในรูปแบบตารางดังนี้ครับ

เปรียบเทียบ XML HTML
ชื่อเต็ม Extensible Markup Language Hypertext Markup Language
ความยืดหยุ่น กำหนด tag เองได้ ตายตัว
โครงสร้าง เก็บข้อมูลได้ ไม่มีโครงสร้างข้อมูล
จุดประสงค์ เก็บและส่งต่อข้อมูล รูปลักษณ์และการแสดงผล
ข้อผิดพลาด ไม่สามรถมี Error Error เล็กน้อยยอมรับได้

2. ความต่างของแผนผังเว็บทั้ง 2 ต่อการทำ SEO

ความต่างของ sitemap ทั้ง 2 ชนิดนี้ คือ แผงผังเว็บชนิด XML นั้นเขียนมาเพื่อเสิร์ชเอ็นจิ้นโดยเฉพาะ

ในทางกลับกัน HTML Site map นั้นมีไว้เพื่อมนุษย์อย่างเราๆ ท่านๆ ในกรณีที่คุณมาเว็บผมแล้ว ต้องการหาหน้าที่เกี่ยวกับการทำ keyword research แต่หายังไงก็หาไม่เจอ หลงอยู่นั่นแระ ไฟล์ผัง HTML ช่วยให้คุณหน้าที่คุณต้องการได้ง่ายขึ้นหน่อย

…ที่ Google ให้ความสคัญมั่กๆ นั่นคือ สิ่งที่เรียกว่า UX หรือ User Experience กล่าวคือ ประสบการณ์ของคนที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บคุณ ดีไม่ดีอย่างไร อย่าลืมนะครับ ถ้า HTML Site Map ทำให้ผู้เข้าชมเว็บ มีความรู้สึกดีๆ ต้องการดูข้อมูลอะไรก็ง่าย อยากหาหน้าไหนก็ไว แบบนี้ คุณอาจได้อันดับต้นๆ ใน Google สมใจปรารถนาก็ได้ จากการสร้าง แผนผังไซต์แบบ HTML

Crazyegg html sitemap

มาถึงจุดๆ นี้ ถ้าคุณถามว่า อ้าวไอ้นั้นก็ดี ไอ้นี่ก็ดี แล้วต้องใช้อันไหนกัน ผมตอบว่าแบบไม่เปลืองพลังงานเซลล์สมองเลยว่า ใช้ทั้งคู่ ก็ดี เพราะอย่างที่กล่าวไปแล้ว กล่าวอีกก็ได้ว่า อันนึง (xml) มีไว้สำหรับ spiders ส่วนอีกอัน (html) มีไว้สำหรับเพื่อนมนุษย์ ด้วยกันครับ

โครงสร้าง XML Sitemap

โดยทั่วไปผังเว็บแบบ XML นี้จะถูกอัพโหลดชึ้นไปเก็บไว้ใน Root ของเว็บไซต์ เช่น www.seobooks.org/sitemap.xml ไฟล์นี้จะทำหน้าที่บอก Search Engine Bots ค่ายต่างๆ ถึงโครงสร้างเว็บไซต์ว่าประกอบไปด้วย ไฟล์อะไรบ้าง อยู่ที่ไหนของเว็บไซต์ ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกการทำงานให้ Bots (ในการรวบรวม แยกแยะ วิเคราะห์) ส่งผลให้เว็บของคุณถูก จัดอันดับใน Search Engine ได้รวดเร็วขึ้น

ด้านล่างเป็นตัวอย่างโครงสร้างของไฟล์ XML แบบเรียบง่ายที่สุด ลองดูกัน

<url>
<loc>http://seobooks.org</loc>
<lastmod>2019-3-10</lastmod>
<changefreq>monthly</changefreq>
<priority>1</priority>
</url>

ในไฟล์ XML Sitemap นี้ก็จะมีข้อมูลที่เราสามารถระบุไว้เพื่อบอก bots เช่น

  • ตำแหน่งแห่งหนของไฟล์ หรือหน้าเว็บอยู่ที่ส่วนไหนของเซิร์ฟเวอร์
  • หน้าเว็บต่างๆ มีการปรับเปลี่ยนล่าสุดเมื่อไร
  • มีการดัดแปลง แก้ไข ทำซ้ำ (เอ่อใใอันนี้ไม่น่าจะมี) บ่อยแค่ไหน
  • รวมถีงคุณสามารถบอก Search Engine ได้ว่าไฟล์ไหนมีความสำคัญ มาก หรือ น้อย กว่ากัน

คุณอาจจะกำหนดให้หน้าหลัก หรือ Homepage priority สูงๆ (สูงสุด คือ 1 ต่ำสุดคือ 0) บ็อทก็จะให้ความสำคัญหน้า Homepage ของคุณเป็นพิเศษ

ลงมือสร้าง Sitemap ประเภท XML

สำหรับท่านที่ต้องการสร้างไซต์แม็พเองเลย แบบทำมือก็ได้นะไม่มีปัญหา แต่อาจใช้เวลาอยู่บ้างในกรณีที่เว็บไซต์ค่อนข้างใหญ่ ส่วนบางท่านอาจเริ่มเกาศรีษะ แกร็กๆๆๆ นึกว่า เอ๊ะเว็บเรามีเป็น 100 หน้า แล้วเมื่อไรจะสร้างเสร็จ อย่ากลัวไป!

ผมมีตัวช่วยมาเสนอ และยิ่งดีขี้นไปใหญ่ คือ คุณสามารถใช้ได้ฟรีๆ เรามาเริ่มกันที่ตัวเแรกเลย

1. XML Sitemap Generator

อันดับแรก ไปที่เว็บนี้ www.xml-sitemaps.com

Free Tool - XML Sitemap generator

วิธีการใช้ก็ง่ายดายครับ เปิดหน้าเว็บขึ้นมาแล้วก็ระบุค่าตามภาพด้านบน เสร็จลแล้วกดปุ่ม Start แรงๆ หนึ่งที จากนั้นก็อดใจรอประมาณ 10 วิ แล้วแต่ความใหญ่ของเว็บไซต์ด้วย แต่ละเว็บอ่าจไม่เท่ากัน เมื่อระบบประมวลผลเสร็จคุณสามารถโหลด XML sitemap ที่เพิ่งสร้างมาเก็บไว้ในเครื่อง เพื่อเช็คเนื้อหาว่าถูกต้องไหม

จากนั้นก็อัพโหลดเข้าไปใน Root directory ได้เลย เป็นอันเสร็จพิธี เครื่องมือตัวแรกนี้มีข้อจำกัด อยู่บ้าง กล่าวคือ จำนวนหน้ามากที่สุดที่ระบบยอมรับคือ 500 หน้า ครับ สำหรับเว็บที่มีหน้ามากกว่านี้ อาจพิจารณา อัพเกรด อันนี้มีค่าใชจ่าย!

2. Xenu Link Sleuth

เครื่องมือตัวนี้จริงๆ แล้วเป็นเครื่องมือที่มีความสามารถมากกว่าการทำ sitemap นะครับ เรียกได้ว่าเป็นเครื่องมืออเนกประสงค์สำหรับเราชาว SEO กันเลยทีเดียว ผมใช้ทำ SEO Audit เว็บต่างๆ นับร้อย มาหลายปี ทั้ง project ของตัวเอง และกับลูกค้าที่ทำให้ Agency ดีครับ ที่สำคัญ ฟรี 100% ไม่ว่า เว็บคุณจะใหญ่แค่ไหน! ก่อนอื่นไปโหลดโปรแกรมก่อน

วิธีการใช้มีแบบนี้ครับ

หลังจากโหลดซอฟร์แวร์มาแล้ว ก็ทำการติดตั้งปกติ จากนั้นก็ให้เปิดขึ้นมาครับ หน้าตาก็จะเป็นดังรูปด้านล่าง (ผมไม่ขอลงลึกการตั้งค่าละเอียดในโพสนี้ครับ ไว้มีโอกาสหน้าจะโพสให้คุณๆ ได้ อ่านกันต่อไปในการทำ SEO Audit) ก็ให้คุณใส่ URL เว็บของคุณลงไป จากนั้นกดปุ่ม OK ได้เลย

Xenu Liks Sleuth basic settings

XENU ก็จะทำการไต่ และรวบรวม URL ทั้งหมด ไฟล์ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็น HTML, JavaScript, CSS เรียกว่าเหมายกเข่งกันเลยว่างั้น ก็ให้คุณไปทำอะไรอย่างอื่นก่อนได้ครับ ถ้าเว็บคุณค่อนข้างใหญ่ ขั้นตอนนี้ต้องให้เวลากับมันนิดนึง

้How to use XENU to crawl a site

พอเสร็จแล้ว ตัวโปรแกรมก็จะมีกล่องคำถาม บอกคุณว่าไต่เว็บคุณเสร็จแล้วจะดูรายงานไหม ก็ให้คุณข้ามไปก่อน ต่อไปเรามาดูกันว่าจะสร้าง XML Sitemap โดยใช้ Xenu Link Sleuth ได้อย่างไร ดูรูปด้านล่างประกอบไปด้วยครับ

Using XENU Link Sleuth to make Google XML Sitemap

ทีเมนูด้านบน ให้คุณกด File > Google XML Sitemap File … จากนั้นโปรแกรมจะถามว่าคุณจะเซฟไฟล์ที่ไหน คุณก็ตั้งชื่อ (ส่วนใหญ่เขาใช้ชื่อ sitemap.xml กัน ผมก็ใช้ เลยแนะนำให้คุณใช้ด้วยนะ) แล้วก็บันทึก

Look of XML Sitemap by XENU

จากนั้น คุณอาจจะเป็นไฟล์ที่ได้สร้างไว้ขึ้นมา อาจจะใช้ Notepad ก็ได้ครับ เพื่อดูรูปร่างหน้าตา เช็คให้แน่ใจว่ามีอะไรไหมที่ประหลาด มี URL ที่ไม่ต้องการไหม มีหน้าที่ errors ไหม เช็คดีแล้วก็อัพโหลดขึ้นไปในเว็บเซิฟเวอร์ได้เลย เท่านี้คุณก็มีแผนผังเว็บไซต์ XML ไว้ใช้กันแล้ว

เมื่อเว็บคุณมี XML Sitemap แล้ว อย่าคิดว่ามันจบแต่เพียงเท่านี้ ยังครับงานยังไม่เสร็จ คุณควรที่จะนำพาแผนผังเว็บนี้ฝากไว้ในฐานข้อมูล Google ด้วย เหมือนกับเอาเด็กไปฝากโรงเรียน เขาจะได้ดูแลเด็กเราดีๆ ยังไงยังงั้น

เอาละครับ ถึงตรงนี้คุณรู้แล้วว่า XML Sitemap หรือแผนผังเว็บไซต์เวอร์ชั่น XML คืออะไร, ใช้ทำอะไร, แล้วจะสร้างไฟล์นี้ ได้อย่างไร

ทีมงานผู้เขียนคงจบโพสนี้ด้วยการทิ้งท้ายไว้เหมือนเดืมครับว่า SEO ไม่ยากอย่างที่คิด ขอแค่ใช้เวลาอยู่กับมันให้พอ มีอะไรติดสงสัยตรงไหน ผมอยู่ตรงนี้ ยินดีให้คำตอบ ครับผม

Similar Posts

2 Comments

    1. I am not 100% sure if i understand your question properly. But yeah, this post is about SEO techniques specifically XML sitemap e.g. what it is, how it could be beneficial SEO wise, and how you can create them so on and so forth 😉

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *