onsite seo
Home » On-Page » 7 เทคนิค On-Page SEO ปรับแต่งเว็บให้เป็นที่ Love ของ Google

7 เทคนิค On-Page SEO ปรับแต่งเว็บให้เป็นที่ Love ของ Google

คำว่า Onpage หรือ on-site seo มีความหมายความตรงไปตรงมาครับ คือการปรับแต่งแก้ไของค์ประกอบต่างๆ ในเว็บ ‘เพจ’ หรือใน ‘เว็บไซต์’ ให้สอดคล้องกับอัลกอริทึม (Algorithm) ของ Search Engine อาทิ Google หรือ Bings เป็นต้น

ผลลัพธ์ที่ได้ก็แน่นอนครับคีย์เวิร์ดที่คุณกำลังทำ SEO อยู่นั้น ก็จะมีโอกาสสูงขึ้นในการที่จะไปติดอันดับดีๆ ในหน้าผลลัพธ์การค้นหา หรือที่เราเรียกเป็นภาษาอังกฤษย่อๆ ว่า SERP (Search Engine Result Page)

อุ๊บ๊ะ! ทฤษฏีผ่านไปถ้ายังไม่เข้าใจ ผมอุปมาอุปมัย การทำ SEO Onsite กับ การออกเดท เพื่อให้เห็นภาพแบบนี้คร้บว่า 🤣..

“สมมัติว่า… คุณกำลังจะออกเดตหรือไปเที่ยวกับคนที่คุณถูกใจเป็นครั้งแรก สิ่งที่คุณต้องทำกับตัวเองคืออะไรครับ? 

ตัดผมให้ดูเป็นทรงหน่อย? ใส่เสื้อตัวเก่ง? ฉีดน้ำหอม? 

ทั้งหมดทั้งมวงก็เพื่อสิ่งเดียวครับ .. การสร้างความประทับใจแรก (First Impression) เพื่อให้เธฮติดตราตรึงใจ เผื่อในอนาคตอาจมีการพัฒนาเปลี่ยนสถานะไปเป็นแฟน และภรรยาในที่สุด ฮิ้ว++..

เว็บเราก็เหมือนกันเพื่อที่จะสร้างความประทับใจให้ Google แล้ว ก็ต้องทำเว็บของเรา ในส่วนต่างๆ เพื่อในอนาคตอันใกล้ Google ถูกใจขึ้นมา อาจโปรโมทเว็บคุณให้ติดหน้าแรก ก็ได้ ใครจะรู้…”

…หลักการพื้นฐานการทำ SEO Onpage นั้นจะมุ่งเน้นการสร้าง content ที่ถูกใจ user

เช่น ถ้าผู้ใช้มาเว็บคุณอ่านบทความนี้ แล้วไปอ่านบทความอื่นๆ ต่อ ยังไม่หนำใจไปดูวิดีโอในเว็บคุณอีก เรียกว่าหมดเวลาชีวิตไปกับ content ที่คุณนำเสนออย่างเพลิดเพลิน
นอกจาก users จะชื่นขอบแล้ว Google เองก็ชอบด้วย ถ้าเว็บคุณมีพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใข้งานแบบนี้ การันตีอันดับคีย์เวิร์ดแสดงผลหน้าแรกๆ ชัวร์

พอเห็นภาพกันรึยังครับว่าการทำ on-page หมายถึงอะไร? ก่อนที่จะลงรายละเอียดวิธีการทำขอเคลียร์ให้ชัดก่อนนิสนึงว่า การที่จะเพิ่ม traffic ให้ web ด้วยการทำให้เพจติดหน้าแรก Google นั้น นอกจากจะทำ On-site Search Engine Optimization onsite แล้ว ยังมีอีกส่วนนึงที่สำคัญและควรทำนั่นก็คือสิ่งที่เรียกว่า Offpage SEO หรือการสร้าง Backlink (Link Building)

ปรับ 7 องค์ประกอบโครงสร้างของ Onpage เพื่อหน้าแรก Google

ในความเป็นจริงการทำ onpage นี้มีองค์ประกอบหลายหลากสำคัญมากน้อยต่างกัน

ต่อไปผมขอนำเสนอ 7 องค์ประกอบหลักของการทำ on-site ไล่เรียงความสำคัญจากมากไปน้อย ดังนี้ครับ

infographic - 7 องค์ประกอบ onpage seo

1. ชื่อ Page หรือ Meta Title ปัจจัยหลักอันดับต้นๆ การทำ SEO

เมื่อคุณเปิดเว็บเพจขึ้นมา เจ้า Title Tag คือชื่อของเว็บเพจ จะปรากฏอยู่ในแท็บของเว็บเบราเซอร์ (ตัวอย่างตามรูปด้านล่าง)

ถ้าตัวหนังสือที่คุณใช้ยาวไป คุณสามารถดู title ทั้งหมดได้ด้วยการเอา mouse ไปชี้ title แบบเต็มก็จะแสดงออกมา

page title

ไอ้เจ้าชื่อ SEO Title นี้ มีความสำคัญมั้กมัก เพราะจะทำให้ search engines จะรู้ว่า web page ของคุณ หลักๆ แล้วเกี่ยวกับอะไร

คุณสามารถสร้าง meta title ได้โดยการนำ-ข้อความที่คุณต้องการใช้เป็นชื่อของเว็บเพจไปวางระหว่าง HTML Title tag ดังนี้

HTML Title

ในการเขียนชื่อเพจให้ได้อันดับดีๆ ใน Google นั้นผมแนะนำว่า:

  • ให้คุณใส่คีย์เวิร์ดที่คุณต้องการทำอันดับลงไปด้วย ถ้าใส่ด้านหน้าสุดได้ก็ยิ่งดี แต่ควรระวังว่าให้คนอ่านรู้เรื่องด้วยนะ ถ้าเอาแต่ยัดๆ keyword ลงไปอย่างเดียวอาจถูกมองว่าเป็นการทำ SEO Keyword Stuffing ได้ ซึ่งไม่เป็นผลดีแน่นอน
  • ตัวอักษรที่ใช้ไม่ควรเกิน 70 ตัว (รวมสระ และ รูปวรรณยุกต์) ไม่งั้น title ที่คุณคิดมาด้วยความยากลำบากอาจถูกตัดออกถ้ายาวเกินไป ตัวอย่างตามรูปด้านล่างที่ผมเน้นไว้ในกรอบสีแดงๆ

page title ยาวไปถูกตัดออก

ด้านล่างเป็นตัวอย่างรูปลักษณ์ของ page title (เน้นด้วยสีเขียว) ที่ถูกแสดงใน Google.co.th

page title และ meta description ใน serp

Meta description คืออะไร?

ที่ผมทาสีเหลืองไว้ในรูปด้านบน ศัพท์วิชาการเราจะเรียกสิ่งนี้ว่า Meta Description ซึ่งก็คือคำจำกัดความของ web page แต่ละหน้า
เขียนต่อยอดขยายความเพิ่มเติมจาก page title เพื่อให้ผู้คนเห็นภาพเกี่ยวกับเพจชัดเจนยิ่งขึ้น

  • แนะนำให้ใส่คีย์เวิร์ดไว้ด้วย โดยเลือกใช้ keyword ที่ยังไม่ได้ใส่ใน title
  • ส่วนจำนวนตัวอักษรก็ไม่ควรเกิน 150 ตัว (รวมสระ, และ รูปวรรณยุกต์)

Meta keywords คืออะไร?

ขอเล่าย้อนความหลังหน่อยนึงคงไม่ว่ากันว่า.. แต่ก่อนเวลาเขาทำ SEO ก็จะมานั่งคิดกันว่าจะเขียน meta tag อย่างไร นอกจาก meta title, และ meta description แล้วยังมี meta keyword อีกตัวนึงที่ต้องเขียน

meta keywords

Meta keywords คือ meta data ทีบอกว่าหน้าเว็บเพจของเรา มีคอนเทนต์เกี่ยวกับคีย์เวิร์ดอะไร

กลับมาสมัยนี้ Meta keyword ไม่มีผลหรือไม่ใช่ปัจจัยต่อการจัดอันดับคีย์เวิร์ดอีกต่อไป แต่ web master บางคนยังใช้อยู่อาจะเป็นเพราะใช้ไว้เป็นตัวคอยเตือนว่าหน้าไหนทำ SEO คีย์เวิร์ดอะไรอยู่ โดยเฉพาะคีย์เวิร์ดยาวๆ จะมานั่งจำทั้งเว็บไซต์มันก็กระไรอยู่ จำบ่ได้ดอก..

2. URL เว็บเพจที่เป็นมิตร

URL ย่อมาจาก “Uniform Resource Locator” ซึ่งก็คือที่อยู่ของทรัพยากรต่างๆ ใน internet เช่น ชื่อเว็บนี้ คือ www.seobooks.org อันนี้ก็เรียกได้ว่าเป็นที่อยู่หรือ URL ของเว็บ SEO Books

คำแนะนำในการสร้าง URL ที่เป็นมิตร หรือ SEO Friendly URL เพื่อให้เป็นผลดีต่อการทำ SEO มีดังนี้ครับ

  • ให้คุณใส่คีย์เวิร์ดที่คุณต้องการทำอันดับลงไปด้วย
  • URL ที่ไม่มีความหมาย เช่น www.abc.com/?=p=123 ไม่เอา
  • ตัวอักษรที่ใช้ไม่ควรเกิน 76 ตัว ถ้าจะให้ดีไม่ควรเกิน 3-5 คำ

กราฟเส้น - url length vs google position

มีการศึกษามาเป็นที่เรียบร้อยโรงเรียนฝรั่งว่า URL สั้นๆ ส่งผลต่อการทำอันดับใน Google ดีกว่ายาวๆ

ถ้าเกิดมีการเปลี่ยนแปลง URLเช่น ..

URL เดิมเป็น www.seobooks.org/?p=123

คุณไปเปลี่ยนใหม่เป็น http://seobooks.org/abc/

แบบนี้จะมัวใจเย็นอยู่บ่ได้ดอก…

301 Redirect คืออะไร? ใช้ตอนไหน?

แนะนำว่าให้ ทำ 301 Redirect คือการเปลี่ยนทิศทางแบบถาวรจาก URL เก่าไป อันใหม่ด้วย

เพื่อเป็นการส่งผ่านความสามารถในการทำอันดับ (Link Juice) จากหน้าเก่าไปยังหน้าใหม่

จะเห็นว่าการเปลี่ยน URL แต่ละทีงานงอกต้อง redirect กันให้วุ่นวาย ดังนั้นกันไว้ดีกว่าแก้ คิด URL ให้ดีทีเดียวแล้วใช้ไปนานๆ ตลอดชีพเลยก็ยังได้

3. หัวข้อหลัก หัวข้อย่อย (Header)

เวลาคุณเขียนรายงานหรือหนังสือก็จะมีหัวข้อหลัก และก็จะมีหัวข้อย่อยๆ.. ในเว็บเพจคุณสามารถใช้ HTML heading tag เพื่อระบุหัวข้อหลัก และย่อยได้เหมือนกัน โดยใช้:

  • H1 คือ หัวข้อหลักในหน้า รูปร่าง HTML H1 tag ก็จะประมาณนี้ <h1>หัวข้อหลัก</h1>
  • หัวข้อย่อยลงมาระดับที่ 2 จะเรียกว่า H2 (<h2></h2)
  • ไล่ไปเรื่อยๆ จนไปถึงหัวข้อย่อยที่เล็กที่สุด คือ ระดับ 6 H6 (<h6></h6>)

html h1 to h6

ในการทำ SEO ผมแนะนำให้จัดโครงสร้างเพจให้ดีใช้ Heading Tag ตามความเหมาะสม สอดคล้องกับเนื้อหา โดย:

  • ให้คุณใส่คีย์เวิร์ดที่ไม่เหมือนกับที่ใส่ไปใน title หรือใน URL เป๊ะๆ คุณอาจเลือกใช้คำที่มี่ความหมายคล้ายๆ กันแต่เขียนต่างกัน (Synonym)
  • เขียนให้กระชับ ไม่เยิ่นเย้อ แต่ได้ใจความว่าแต่ละหัวข้อเกี่ยวกับอะไร

4. Rich Media

ใส่ตัวหนังสือในเว็บเยอะๆ นั้นดี เป็นอาหารหลักของ Google เลย แต่ว่า หน้าที่มีแต่ตัวหนังสือมันก็หน้าเบื่อนะ ว่าไหม?

ถ้าคุณเป็นแฟนตัวยงของเว็บของเรา SEOBooks คุณคงสังเกตุเห็นว่าผมใช้สิ่งที่เรียกว่า rich media เช่น รูปภาพ, กราฟ, ตาราง, วีดีโอ เป็นต้น พอสมควรทีเดียวในการสื่อความหมายในแต่ละหัวช้อ

ทั้งนี้เพราะลึกๆ แล้วเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้จะทำให้ผู้คนไม่เบื่อและใช้เวลาอ่านหรือเสพข้อมูลอย่างมีความสุข ซึ่งส่งผลใ้ห้ Bounce rate (อัตราของคนที่เข้ามาเว็บคุณปุ๊บ ออกไปปั๊บ) ต่ำ และส่งผลทางอ้อมให้อันดับหรือ Rankings โดยรวมดีขึ้นด้วย อิ อิๆ

ALT text คืออะไร ช่วยเพิ่ม traffic ให้คุณได้ยังไง

alt text คือองค์ประกอบหนึ่งของ Image Tag ที่คุณใส่คำจำกัดความของรูปภาพ สั้นๆ เพื่อที่จะช่วยให้ spiders จาก Google ใช้เวลาน้อยลงในการตีความหมาย

ถ้าทำดีๆ มีโอกาสที่รูปในเว็บคุณแสดงผลบ่อยขึ้น จากการติดอันดับใน image search และนำพาคนมาเข้าเว็บคุณเพิ่มขึ้นด้วย นิ

ปล. คุณสามารถดู traffic จาก image หรือรูปภาพที่คุณได้ optimize เป็นอย่างดีได้ใน Google Search Console

GSC - Image traffic

5. คีย์เวิร์ด (Keyword)

คำหลักหรือคีย์เวิร์ด ชื่อมันก็บอกแระว่าเป็นคำหลักที่คุณต้องให้ความสนใจมากที่สุด เพราะว่าเมื่อติดอันดับในหน้าแรก Google แล้วจะนำพาคนมากมายมาซื้อของที่คุณขาย..

จะเห็นในหัวข้อที่ผ่านๆ มา ผมจะแนะให้นำ keyword ที่คุณทำ ranking อยู่ ไปแทรกใน html tag ต่างๆ อยากจะย้ำข้อควรระวังกันให้ชัดอีกทีในกระบวนการนำ keywords ไปแปะไว้ในองค์ประกอบต่างๆ ใน page ดังนี้

หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงโดยการใช้คำเดิมๆ ซ้ำๆ ให้คุณพยายามหา คำที่มีความหมายใกล้ๆ กันกับคำหลัก (LSI – Latent Semantic Indexing) มาใช้ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ Google มองเว็บคุณว่าคุณภาพต่ำ อยู่ดีๆ ก็จับยัดคีย์เวิร์ดเพื่อให้ได้อันดับดีๆ ศัพท์เทคนิกของการทำแบบนี้เรียกว่า Keyword Stuffing

6. เนื้อหา (Text)

เนื้อหาของเว็บเพจหลักๆ ก็คือตัวหนังสือ ซึ่งอาจจะสร้างความเบื่อหน่ายได้พอสมควร โดยเฉพาะสำหรับท่านที่ไม่ชอบอ่าน เลยต้องมี media ประเภทอื่นๆ เข้ามาช่วยสร้างแรงดึงดูดให้ผู้อ่านหรือผู้เข้าชมเว็บไซต์คุณอยากจะใช้เวลาอยู่ต่อ (เลยได้ไหม)

ผมสรุปเป็นข้อๆ สิ่งที่ควรจะทำในการเขียนเนื้อหาเว็บของเรา ดังนี้ครับผม

  • เน้นเลยว่าถ้าทำได้ให้เขียนเนื้อหาเชิงลึก วิจัยมาเป็นอย่างดีให้คนอ่านแล้วได้อะไรกลับไปไม่ใช่ว่ามีแต่น้ำเนื้อไม่รู้หายไปไหนหมด
  • เขียนให้ดูเป็นธรรมชาติ เขียนให้คนอ่านเป็นอันดับแรก
  • ประยุกต์ใช้ rich media ให้เหมาะสม สอดคล้องกับเนื้อหา
  • ใส่คีย์เวิร์ดที่สำคัญที่สุดภายใน 100 คำแรกหรือในประโยคแรกได้ก็ดี

7. Social Share

หลายคนอาจจะกำลังงงงวย ว่าเอ๊ะ social share (อย่างที่เห็นในรูปด้านล่าง) ก็คือปุ่มให้กดแชร์บทความไปที่ facebook หรือ twitter นั้นมันเกี่ยวด้วยหราากับการทำ seo

ปุ่ม social shares

ขอตอบแบบนี้ ครับว่า Social Signal นั้นมีความสำคัญเป็นปัจจัยเกื้อหนุนแบบอ้อมไปอ้อมมา! แต่ก็ช่วยให้ ranking ของคุณไต่อันดับขึ้นไปอยู่ในที่ชอบๆ ได้ เหมือนกัน

สมมุติว่าบทความคุณถูกใจคน > มีการแชร์มากขึ้นคนก็เห็นและรู้จักคุณมากขึ้น > ทำให้โอกาสของคนที่จะ link มายังเว็บของคุณมากขึ้น > เมื่อ Backlink (Offpage) มากก็จะส่งผลให้อันดับคีย์เวิร์ดดีขึ้น

ดังนั้นจะมัวเหนียมอายไปทำไม หันมาแปะปุ่ม social share กันให้ไว แล้วมาคอยเช็คอันดับคีย์เวิร์ดที่คุณทำด้วยว่ามันขึ้นมากขึ้นน้อยอะไรยังไง มันดีจริงๆ นะ ความรู้สึกที่เว็บอื่นค์มาฟรีๆ เพราะเขาเห็นว่า content คุณนั้นมันสุดยอด

การทำ Onpage SEO มีความสำคัญ ถ้าทำถูกต้องอาจส่งผลให้ Ranking ดีขึ้นได้เลย แถมการทำก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไรมาก เมื่อเทียบกับการสร้าง Link ซึ่งคุณไม่สามารถควบคุมได้ 100% จึงแนะนำว่า

หาก่อนว่าเว็บคุณมีปัญหาในเว็บอะไรบ้าง แล้วแก้ไขตามหลักที่ได้สอนในบทความนี้ ให้ได้มากที่สุด จากนั้นคอย monitor อันดับดูครับ สัก 1 สัปดาห์เป็นอย่างน้อย แล้วจึงค่อยออกไปสร้างลิงก์คุณภาพ เพื่อดันอันดับต่อไป

Similar Posts

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *