Technical SEO

สอนเทคนิคที่นำมาใช้ปรับแต่งเว็บไซต์เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องมือค้นหาสามารถพบและรวบรวมข้อมูลหน้าทั้งหมดบนเว็บไซต์ได้อย่างง่าย

Technical SEO คืออะไร ไขข้อข้องใจจบที่นี่

Technical SEO คืออะไร ไขข้อข้องใจจบที่นี่

Technical SEO คือเทคนิคที่นำมาใช้ปรับแต่งเว็บไซต์ อาจต้องใช้ทักษะในการเขียนโปรแกรม (Coding) หรือการปรับแต่ง Server ผนวกเข้ามาด้วย เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องมือค้นหาสามารถพบและรวบรวมข้อมูลหน้าทั้งหมดบนเว็บไซต์ได้อย่างง่าย ขอยกตัวอย่างเทคนิคที่ควรทำ เช่น ความเร็วในการโหลดไซต์ (Loading Speed) การเพิ่มประสิทธิภาพอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile Optimization) เป็นต้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นดังนี้ ความเร็วในการโหลดเว็บไซต์ เว็บที่โหลดเร็วหมายถึงคนเข้าเว็บสามารถใช้งานเว็บคุณได้อย่างไหลลื่น รวดเร็ว ส่งผลให้ผลลัพธ์ทางธุรกิจ (Conversion) เช่น การขายของออนไลน์ และอื่นๆ สูงขึ้นด้วย เสิร์ชเอนจินเองก็ชอบเว็บโหลดเร็วและมักให้รางวัลเป็น Ranking ที่ดี Google ได้สร้างเครื่องมือที่ให้คำแนะนำทางเทคนิคเพื่อแก้ไขปัญหาความเร็วไว้ ใช้กันได้ฟรีๆ ครับ อัลกอริธึมของ Google ให้ความสำคัญกับมือถือเป็นหลัก (Mobile First Indexing) หมายความว่าถ้าเว็บคุณโหลดได้เร็วบนเดสก์ท็อป แต่โหลดช้าบนมือถือ Google จะถือว่าไซต์ของคุณช้า คำแนะนำที่ PageSpeed Insight ให้ไว้นั้นค่อนข้างละเอียดทั้งในอุปกรณ์เคลื่อนที่และเดสก์ท็อป แนะนำว่าแก้ให้ได้มากเท่าที่จะทำได้ครับ ถ้าคุณอยากได้มุมมองทางเทคนิกอื่นๆ ขอแนะนำอีก 2 เครื่องมือที่นิยมใช้กัน คือ…

Search Analytics for Sheets + Google Search Console: เครื่องทุ่นแรงย่นระยะเวลาหา Keyword

Search Analytics for Sheets + Google Search Console: เครื่องทุ่นแรงย่นระยะเวลาหา Keyword

ถึงแม้ถึงแม้วิธีการค้นหาคีย์เวิร์ดด้วยการใช้ Google Search Console ที่ได้เรียนกันไปแล้วในบทที่แล้ว จะสามารถช่วยให้คุณหาคีย์เวิร์ดมาทำ SEO ได้อย่างง่ายๆ แต่ก็ยังมีข้อด้อยอยู่ 2 ประการ คือ  “ข้อความค้นหา” (Queries) กับ “หน้า” (Pages) จะอยู่แยกออกจากกันเป็นเอกเทศ ทำให้เมื่อคุณต้องการดูว่าคีย์เวิร์ดไหนอยู่หน้าเพจอะไร คุณต้องคลิกคีย์เวิร์ด แล้วก็ไปคลิกที่หน้าเพจอีกครั้ง ถ้าเว็บไซต์คุณเล็ก มีคีย์เวิร์ดติดอันดับไม่มากคงไม่เป็นปัญหา แต่ในกรณีเว็บใหญ่ มีคีย์เวิร์ดเป็นร้อยหรือเป็นพันที่ต้องมานั่งเลือก การคลิกไปคลิกมาแบบนี้คงทำให้เสียเวลาชีวิตไปไม่ใช่น้อย GSC จะแสดงข้อมูลได้สูงสุด 1,000 แถว หมายความว่าคุณไม่สามารถดูข้อมูลคีย์เวิร์ดเกิน 1,000 คำ ในกรณีที่เว็บคุณมีคีย์เวิร์ดติดอันดับมากกว่า 1,000 คำ   ในสูตรลับนี้ผมขอนำเสนอทางออกของปัญหานี้ โดยการใช้เครื่องทุ่นแรงที่มีชื่อว่า Search Analytics for Sheet (เป็น Addon หรือส่วนเสริมของ Google Sheet ใช้งานได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายครับ) ทีทำงานเชื่อมต่อกับ GSC และนำข้อมูลมาแสดงใน Google Sheet…

10 ตัวอย่างการใช้ Google Search Console + แนะนำวิธีการใช้งานครบสูตร

10 ตัวอย่างการใช้ Google Search Console + แนะนำวิธีการใช้งานครบสูตร

บทความนี้ตั้งใจเขียนขึ้นมาเพื่อให้เป็นคู่มือน้อยๆ สำหรับผู้อ่านที่ต้องการรู้จัก Google Search Console หรือ เรียกย่อๆ ว่า GSC กันอย่างละเอียด ถ้าคุณต้องการติตตั้งเป็น และใช้งาน Google Webmaster Tool เป็น (อ่อ ลืมบอก.. อันนี้เป็นชื่อเก่าของ GSC ครับ บางทีผมอาจใช้สลับกันไปมา ขอให้เข้าใจตรงกันก่อน ณ จุดๆ นี้) และ ต้องการใช้เครื่องมือตัวนี้ในการปรับแต่ง SEO ให้แรงส์ แล้วละก็ ต้องอ่านเลยวันนี้ Confirmed! ถ้าคุณไม่เค๊ย ไม่เคยได้ยิน หรือรู้จัก Google Search Console มาก่อน เรียกว่ามือใหมถอดด้ามกันเลยทีเดียว บทความนี้ถือได้ว่าเป็น guide นำเที่ยว ทำความรู้จักกับเครื่องมือตัวนี้ได้อย่างดีเลย แต่ถ้าคุณมองตัวเองว่าเป็นมือโปรแล้ว ผมก็ยังคิดว่าคุณน่าได้ความรู้ใหม่ๆ ติดไม้ติดมือ ติดสมองกันไปบ้างไม่มากก็น้อย OK.. พร้อมยัง? ไปอ่านเลย.. Google Search Console…

XML Sitemap ฉบับมือใหม่หัดสร้าง

XML Sitemap ฉบับมือใหม่หัดสร้าง

หลายคนยังคลุมเคลือในหลายหัวข้อเกี่ยวกับ Search Engine Optimization แล้วไอ้เจ้า XML Sitemap ซึ่งเป็นหัวข้อที่เราจะพูดกันในวันนี้ ก็เป็นหนึ่งในนั้น บางคนไม่รู้จริงๆ ว่าไฟล์นี้คืออะไร, มีไว้ทำไม แล้วเทคนิคการปรับแต่ง sitemap ให้เป็นที่ LOVE ของ บิ้ก G นั้นทำได้อย่างไร คำถามเหล่านี้ มีคำตอบแล้ววันนี้ ที่นี่ แผนผังเว็บไซต์คืออะไร ? แผนยังเว็บไซต์ โดยทั่วไปแล้วก็จะเป็นไฟล์ประเภท XML ในนั้นก็จะมีหน้าเพจต่างๆ ที่อยู่ในเว็บของคุณ ที่คุณเลือกที่จะเอามาใส่ไว้ แล้วไอ้เจ้าเอกสารตัวเนี้ยก็จะบอกกับ search engines อย่าง Google หรือ Bing ก็ดี ว่าให้เพิ่มหน้าเหล่านี้ไว้ในฐานข้อมูลด้วยนะ คนจะได้มาหาเจอ ส่วนโครงสร้างของ ไซต์แมพนี้ เอาคร่าวๆ ก่อนนะ ก็จะมีข้อมูลประมาณว่า หน้าเพจของคุณแต่ละหน้าถูกสร้างขึ้นเมื่อไร, มีการแก้ไขล่าสุดเมื่อไร และยังบอกระดับความสำคัญของแต่ละหน้าด้วย ซึ่งตรงนี้คุณระบุเองได้หมดเลย …ก็จะใช้แผนผังไซต์ตัวเนี้ยมาเป็นไกด์ (Guide) เพื่อทำความรู้จักกับเว็บคุณว่ามีกี่หน้า อะไรยังไง มีข้อมูลอะไรบ้างคร่าวๆ…