มนุษย์ประดิษฐ์เครื่องวัดเพื่อใช้เปรียบเทียบสิ่งต่างๆ รอบตัวมานานนม เช่นเมื่อคุณสงสัยว่าผลของการควบคุมอาหารเดือนนี้เทียบกับเดือนก่อนเป็นยังไง คุณก็จะใช้เครื่องชั่งน้ำหนักเป็นตัววัด
และคุณก็จะเชื่อผลลัพธ์ที่อ่านได้อย่างสนิทใจเพราะเครื่องชั่งน้ำหนักได้รับการยอมรับโดยปริยายในสากลโลกว่าเป็นเครื่องมือสำหรับการชั่งน้ำหนัก เราชาว SEO จะบอกว่าเว็บไซต์ใดๆ มีความแข็งแรงเชิง SEO มากหรือน้อยกว่ากัน เราจำเป็นต้องมีเครื่องวัดเช่นกัน ในบทนี้เรามาทำความรู้จักเครื่องมือวัดที่มีมาตรฐาน และเป็นที่นิยมมากที่สุด ณ ขณะนี้กัน
เลือกเครื่องมือวัดความสามารถในการแข่งขันคีย์เวิร์ดให้เหมาะกับตัวคุณ
ในปัจจุบันมีอยู่ 4-5 บริษัทผู้ให้บริการซอฟต์แวร์วิเคราะห์ลิงก์ทีได้รับความนิยมสูงได้แก่..

- MOZ – https://moz.com/
- Ahrefs – https://ahrefs.com/
- SEO Spyglass – https://www.link-assistant.com/seo-spyglass/
- Majestic – https://majestic.com/
- SEMrush – https://www.semrush.com/
* T = ล้านๆ ลิงก์ เช่น 12T หมายถึง 12 ล้านล้านลิงก์
**ฟรีไม่จำกัดเวลา แต่มีข้อจำกัดอื่นๆ เช่น จำนวนคีย์เวิร์ดและจำนวนลิงก์ที่สามารถเช็คได้
2 เกณฑ์ประกอบการตัดสินใจ...
ผมมี 2 เกณฑ์ ที่คุณสามารถใช้ประกอบการตัดสินใจในการเลือกว่าจะใช้เครื่องมือของบริษัทไหน ดังนี้…
2.1 งบประมาณ (Budget)
ถ้าคุณเพิ่งเริ่มเรียนรู้ SEO เรียกได้ว่าเป็นมือใหม่หัดทำและมีงบไม่มากนัก ผมแนะนำให้เริ่มต้นที่ MOZ เพราะว่าคุณมีเวลานานถึง 30 วัน ที่จะทดลองใช้ซอฟต์แวร์โดยไม่มีค่าใช้จ่ายแต่ว่าเมื่อหมดเวลาทดลองใช้ผมไม่แนะนำให้ใช้ต่อ เหตุผลหลักคือ MOZ ขนาดฐานข้อมูลเล็กโดยเฉพาะภาษาไทยยังไม่สนับสนุนเต็มที่ ตัวอย่างเช่น ไม่มีข้อมูลปริมาณการค้นหารายเดือน (Monthly Volume) สำหรับคีย์เวิร์ดภาษาไทย…

ถามว่าไม่ให้ใช้ MOZ แล้วให้ใช้อะไร? ...

เพราะมีราคาถูกที่สุดเริ่มต้นที่ปีละ $124 ซึ่งคุณใช้ซอฟต์แวร์ตัวอื่นได้แค่หนึ่งเดือนเท่านั้นในราคานี้ นอกจากนี้ SEP Spyglass ยังมีขนาดฐานข้อมูลที่ค่อนข้างใหญ่คือประมาณ 2.7 Trillion (ล้านๆ ลิงก์) อาจจะมีข้อเสียอยู่บ้างที่ SEO Spyglass เป็นซอฟต์แวร์ที่ต้องติดตั้งและใช้กับคอมพิวเตอร์ของคุณ ในขณะอีก 4 ตัวคุณสามารถล็อกอินเข้าไปใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านเว็บเบราว์เซอร์
2.2 สมรรถนะในการใช้งาน (Performance)
ถ้าคุณมีงบเพียงพอ ผมแนะนำให้ใช้ ahrefs เพราะว่านอกจากจะมีฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่สุด Interface ของ ahrefs ยังถูกออกแบบมาให้ใช้ง่ายไม่ต้องเสียเวลานานในการทำเข้าใจง่าย นอกจากนี้คุณสามารถเรียกดูรายงานสำคัญๆ ได้เพียงการคลิก 1 ครั้ง เช่น คุณสามารถเรียกดูได้ว่าหน้าไหนในเว็บไซต์มีลิงก์ชี้ไปหามากที่สุดในรายงาน The Best Pages by Incoming Links

การปรับแต่งรายงานเพื่อดูข้อมูลเฉพาะก็สามารถทำได้ง่ายๆ ผ่าน Filter ในบทแรกผมได้พูดถึงการหาคีย์เวิร์ดที่ติดอันดับอยู่ในหน้าที่สองของ Google ด้วย GSC คุณสามารถทำแบบนี้เช่นกันใน ahrefs แต่วิธีการนั้นง่ายกว่ามาก…
1. เปิด https://ahrefs.com/ แล้วคลิก Site explorer จากเมนูด้านบน

2. ป้อนเว็บไซต์ของคุณลงไป จากนั้นให้คลิกที่แว่นขยาย

3. เปิดรายงาน Organic Keywords ด้วยการคลิกลิงก์ Organic keywords (ภายใต้หัวข้อ Organic search) ที่เมนูด้านซ้ายมือ

4. ในหน้ารายงาน Organic Keywords จะมีหลากหลาย Filter ให้คุณเลือกเพื่อดูรายงานเฉพาะที่คุณต้องการ ในตัวอย่างนี้ให้คุณเลือก Position แล้วป้อนค่า “11” ในช่อง From และ “20” ในช่อง To เสร็จแล้วกดปุ่ม Apply

เพื่อสร้างรายงานที่มีแต่คีย์เวิร์ดอันดับที่ 11-20 (คีย์เวิร์ดที่ติดหน้าสองของ Google)

จะเห็นว่า ahrefs สามารถย่นระยะเวลาในการทำงาน ช่วยให้คุณสร้างรายงานต่างๆ ได้อย่างง่ายดายด้วยการคลิกไม่กี่คลิก
2.3 จำนวนคนใช้
ถ้าซอฟต์แวร์มีคุณใช้งานอยู่แค่คนเดียว คุณไม่จำเป็นต้องจ่ายแพงกว่าสำหรับคุณลักษณะ (Features) การใช้งานหลายคน (User seats)

รูปด้านบนแสดงแพ็คเกจของ ahrefs จะเห็นว่าแพ็คเกจ Advanced รองรับผู้ใช้งานได้ 3 คน มีราคาแพงกว่าแพ็คเกจ Standard ที่ใช้งานคนเดียวถึง $220
ก่อนที่จะเลือกใช้ซอฟต์แวร์ตัวไหนผมแนะนำให้เข้าไปหาข้อมูลเพิ่มเติมโดยเปรียบเทียบแต่ละแพ็คเกจให้ดีจะได้เลือกเครื่องมือที่มีคุณลักษณะครบและราคาเหมาะสมกับงบประมาณที่ได้ตั้งไว้

ผมจะใช้ ahrefs เป็นหลักประกอบการอธิบายในบทความต่อๆไป คุณมีอิสระเต็มที่ในการเลือกใช้เครื่องมือตัวไหนก็ได้ไม่จำเป็นต้องใช้ตามผม อย่างที่ได้บอกไปแล้วว่าเครื่องมือเหล่านี้ต่างกันในรายละเอียดปลีกย่อยเท่านั้น อาทิ MOZ จะเรียกความแข็งแรงเชิง SEO ของทั้งเว็บว่า Domain Authority (DA) และเรียกความแข็งแรงเชิง SEO ในระดับเว็บเพจว่า Page Authority (PA) ในขณะที่ ahrefs จะเรียก Domain Rating (DR) และ URL Rating (UR) ตามลำดับ เป็นต้น...
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้แต่ง คลิกที่นี่