feature image - พื้นฐานการทำ seo
Home » บทเรียนพิ้นฐาน » การทำ SEO คืออะไร? สรุปเทคนิค On-page, Off-page ฯลฯ ดันเว็บติดหน้า 1 Google

การทำ SEO คืออะไร? สรุปเทคนิค On-page, Off-page ฯลฯ ดันเว็บติดหน้า 1 Google

การปรับแต่งเว็บไซต์ให้ติดอันดับบนเครื่องมือการค้นหา (SEO อ่านว่า เอสอีโอ) เป็นเครื่องมือทางการตลาดที่สำคัญสำหรับธุรกิจที่ต้องการเพิ่มการมองเห็นในหน้าผลลัพธ์ของเสิร์ชเอนจิน และดึงดูดลูกค้าได้มากขึ้น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับ SEO อาจดูยากในตอนแรก แต่จำเป็นสำหรับธุรกิจที่ต้องการประสบความสำเร็จออนไลน์ ด้วยความรู้ในบทความนี้จะทำให้คุณเข้าใจพื้นฐาน และองค์ประกอบการทำ SEO สามารถนำไปต่อยอดธุรกิจได้จริงและอย่างมีประสิทธิภาพ

SEO คืออะไร? เข้าใจได้ใน 3 นาที

SEO หรือ Search Engine Optimization คือกระบวนการปรับแต่งทั้งในและนอกเว็บไซต์อย่างสอดคล้องกับ Search Engine Algorithm และตอบโจทย์ผู้ใช้งานเครื่องมือการค้นหา (เช่น Google) เพื่อให้ติดอันดับบนในหน้าผลลัพธ์การค้นหา (Search Engine Result Page เรียกย่อๆ SERP) เพื่อเพิ่มการมองเห็นหน้าเว็บ และช่วยเพิ่มการเข้าชมเว็บไซต์ของคุณ

รู้หลักการพื้นฐานของการทำกันแล้ว ต่อไปเราไปเรียนรู้การทำ SEO ในรายละเอียดกันครับ

เลือกอ่านหัวข้อที่สนใจ

Search Engine Algorithm คืออะไร?

อัลกอริทึมของเครื่องมือค้นหา (เสิร์ชเอนจิน) คือชุดกฎและระเบียบที่ใช้โดยเสิร์ชเอนจินเพื่อกำหนดและวัด ว่าหน้าเว็บใดๆ มีความตรงหรือตอบโจทย์กับข้อความค้นหา (Keyword) ของ user มากน้อยแค่ไหน

อัลกอริทึมทำงานโดยคำนึงถึงปัจจัยหลายประการ เช่น การใช้คีย์เวิร์ด, การสร้าง backlink, คุณภาพของเนื้อหา เป็นต้น ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้ ค้นหาสิ่งที่ต้องการได้เร็วและง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดหน้าสแปมไม่ให้ปรากฏในผลการค้นหาซึ่งช่วยปรับปรุงประสบการณ์ผู้ใช้อย่างมาก

อัลกอริทึมของเสิร์ชเอนจิน มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลาเพื่อปรับปรุงความแม่นยำและประสิทธิภาพ ดังนั้นผู้เชี่ยวชาญด้านเอสอีโอจะต้องตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดที่เกิดขึ้นในขณะที่เพิ่มประสิทธิภาพเว็บไซต์เพื่อให้ได้รับการจัดอันดับที่ดีขึ้น

ประโยชน์ของการทำ SEO ธุรกิจท้องถิ่น (Local SEO) ได้อะไร?

เกือบ 71% ของการเข้าชมทั้งหมดในโลกอินเตอร์เน็ตเริ่มต้นด้วยการค้นหาสิ่งต่างๆ ในเครื่องมือค้นหา เช่น Google, Youtube, Bing ฯลฯ เปิดโอกาสในการเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น ส่งผลให้คุณสามารถขยายฐานลูกค้าและยอดขาย

พายกราฟแหล่งที่มา Web Traffic

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพความสำคัญของการทำ SEO ต่อธุรกิจมากขึ้นแบบนี้ครับ

สมมุติว่าคุณทำธุรกิจขายรถมือสอง คุณตัดสินใจทำ SEO จนเว็บไซต์ของคุณติดอันดับ 2 keyword “ซื้อรถมือสองที่ไหนดี” ทำให้มีคนราวๆ 300 คน เข้ามาเยี่ยมชมร้านออนไลน์ของคุณในแต่ละเดือน
สมมุติต่อไปอีกแบบอนุรักษ์นิยมว่าโดยเฉลี่ยคุณปิดการขายเฉลี่ยอยู่ที่ 10% หมายความว่าเดือนๆ นึง คุณสามารถขายรถเพิ่มขึ้นเดือนละ 30 คัน! จากการทำ เอสอีโอชักเริ่มเข้าท่าแล้ว?

SEO VS SEM ต่างกันอย่างไร?

หน้าผลลัพธ์การค้นหาในเสิร์ชเอนจินเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Search Engine Result Pages หรือ SERP จะแบ่งออกเป็นสองส่วนที่แตกต่างกัน กล่าวคือ

  1. ผลลัพธ์ทั่วไป (Organic Result) จากการทำ SEO
  2. ผลลัพธ์ที่ต้องชำระเงิน (Paid Result)

เปรียบเทียบ Organic กับ Paid Result ใน Google

หลายคนที่เคยทำการตลาดออนไลน์มาบ้างแล้ว อาจสงสัยว่าจะ SEO หรือ SEM ดี ในความเป็นจริง การตลาดผ่านเครื่องมือค้นหา (Search Engine Marketing หรือ SEM) มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับ SEO แต่จะเน้นที่การโฆษณาที่เสียค่าใช้จ่าย เช่น แคมเปญโฆษณาใน Google Ads ต้องจ่ายต่อคลิก (Pay Per Click – PPC) ทั้ง SEO และ SEM เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการตลาดและควรใช้ร่วมกันเพื่อเพิ่มปริมาณการเข้าชมเว็บไซต์ของคุณ

พร้อมแล้ว! เริ่มทำ seo ตอนไหนจะดีที่สุด?

แม้ว่า Search Engine Optimization และ Search Engine Marketing เป็นเครื่องมือทางการตลาดที่ช่วยดึงคนเข้าร้านออนไลน์ของคุณทั้งคู่ แต่คุณอาจเลือกใช้แต่ละวิธีในช่วงเวลาที่ต่างกัน ในระยะสั้น กลาว และยาว

  • ในระยะสั้น: การซื้อ Ads หาคนเข้าร้านมาซื้อของทันทีมีความจำเป็น เนื่องจากผลลัพธ์จากการทำ SEO ยังไม่เห็นผล
  • ระยะกลาง-ยาว: เช่น 6 เดือน ขึ้นไป เมื่อ Keywords มีอันดับดีขึ้น คนเข้าเว็บมากขึ้นจากการทำ เอสอีโอถึงตรงนี้คุณอาจเลือกที่จะหยุดจ่ายค่าคลิก เพื่อประหยัดงบการตลาด

สิ่งสำคัญที่ต้องจำไว้คือ: ถ้างบพอ แล้วโฆษณาไปได้สวย กล่าวคือ ยิง AD 10,000 บาท/เดือน หักลบต้นทุนต่างๆ ยังกำไรอยู่ ก็ไม่เสียหายอะไรที่จะทำ SEO และ SEM ควบคู่กันไป

3 องค์ประกอบต้องรู้! สำหรับ การทำ SEO สู่หน้าแรก Google

ปัจจัยที่อัลกอริทึมของกูเกิลใช้ในการจัดอันดับนั้นมีรายละเอียดหยิบย่อยมากมายถึงหลักหลายร้อย อันนี้ที่เปิดเผยสู่สาธารณะนะ

ที่ไม่เปิดเผยมีอีกเท่าไรสุดจะคาดเดา ข่าวดีคือคุณไม่จำเป็นต้องจบปริญญาเอกด้านเสิร์ชเอนจินถึงจะทำอันดับดีๆ

กุญแจสำคัญคือคุณต้องอย่าลืมใส่ส่วนผสม 3 สิ่งนี้ ในการทำ SEO ทุกครั้ง ห้ามลืมเด็ดขาด!

รูปภาพแสดง 3 สิ่ง ทำแล้วติดหน้า 1 Google

  1. เนื้อหาชั้นเลิศ: เนื้อหาหรือคอนเทนต์ (ตัวหนังสือ, รูปภาพ, บทความ เป็นต้น) ในหน้าเพจมีความสำคัญมากที่สุดในการดันอันดับ Google ชอบหน้าที่มีเนื้อหาคุณภาพสูง มีเนื้อหาที่ตรงกันกับคำค้นหา สรุปสั้นๆ ว่าเนื้อหาห่วย = Rank ห่วย แน่นอน 100%
  2. ลิงก์คุณภาพ: เมื่อทำ SEO ไปมากๆ เข้า คุณอาจจะเจอกับสถานการณ์ที่เว็บคุณมีเนื้อหาดีแล้ว แถมยังจัดเต็ม Technical SEO แล้วอันดับยังไม่กระเตื้อง นั่นเป็นสัญญาณบ่งบอกว่า Keyword ที่คุณดันอยู่มีการแข่งขันสูงไปเกินตัวไปหน่อย คุณต้องการลิงก์ที่มีคุณภาพเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือในสายตา Google ครับ ในกรณีนี้
  3. ปรับ Onpage SEO: การปรับโครงสร้างเนื้อหาในหน้าเพจให้มีรากฐานที่มั่นคง เพื่อการรองรับแรงเสียดทานจากการแข่งขัน โดยเฉพาะในคีย์เวิร์ดยากๆ

สรุป 6 ขั้นตอน วิธีการทำ SEO อัปเดตล่าสุดปี 2023

ถึงเวลาที่รอคอยสักที เรามาดูเทคนิควิธีทำ SEO แบบครบๆ ตั้งแต่คำนวณต้นทุนทางธุรกิจ ไปจนถึงการวัดผล พร้อมแล้ว? ไปกัน!

1) วางแผนคำนวณตุ้นทุนค่าใช้จ่าย

การทำ SEO เหมือนการทำธุรกิจอื่นๆ กล่าวคือคุณจำเป็นต้องวางแผนคิดคำนวณให้ได้ตัวเลขคร่าวๆ ที่คุณสามารถใช้เป็น KPI หรือตัวชี้วัดว่าความสำเร็จ ในหัวข้อนี้ขอยกตัวอย่างการคำนวณว่าการทำ เอสอีโอของคุณต้องนำพาคนจำนวนกี่คนเข้าเว็บต่อเดือน เพื่อให้ได้เป้าตามยอดที่ตั้งไว้

สมมุติว่าคุณทำธุรกิจ eCommerce เป็นเจ้าของร้านขายเสื้อยืดทั้งขายปลีกและขายส่งในอินเตอร์เน็ต

  • ราคาขายเฉลี่ยเสื้อยืด ร้านคุณอยู่ที่ 200 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ ค่าแรงตัดเสื้อ ฯลฯ ตัวละ 50 บาท
  • คณอยากได้ยอดขายเพิ่มขึ้นอีกเดือนละ 40,000 บาท กำไรอย่างน้อยครึ่งนึง หรือ 2 หมื่นบาท ต่อเดือน

ค่าใช้จ่ายในการทำ SEO ประมาณเท่าไร ถึงจะได้ยอดที่คุณตั้งเป้าไว้?
ค่าใช้จ่ายในการทำ SEO ต่อการขายเสื้อยืดหนึ่งตัว คำนวณได้จากการนำกำไร และค่าผลิต มาหักออกจากราคาขาย ดังนี้

คำนวณค่าใช้จ่ายในการทำ seoต้องมีคนเข้าเว็บคุณกี่คนต่อเดือน ถึงจะได้ยอดที่คุณตั้งเป้าไว้?

ในการคำนวณจำนวนคนเข้าเว็บ คุณต้องรู้จักคำว่า Conversion Rate (CR) ก่อน ซึ่งก็คือเปอร์เซ็นต์ของคนที่เข้ามาเว็บคุณแล้วซื้อของ ถ้าคุณตั้งร้านขายของออนไลน์มาได้สักระยะแล้ว คุณดูค่านี้ได้เลยในซอฟต์แวร์ Shopping Cart ที่คุณใช้บริการอยู่ เช่น WooCommerce, Shopify เป็นต้น แต่ในกรณีที่เว็บคุณทำเว็บใหม่ เพิ่งเริ่มขายของออนไลน์ ให้ใช้ค่าเฉลี่ยของธุรกิจ eCommerce ซึ่งจะอยู่ที่ประมาณ 1% – 5%

seo diagram จำนวนคนเข้าเว็บร้านเสื้อ

ในกรณีตัวอย่างนี้ผมเลือกค่ากลางๆ คือ 2% มาคำนวณ เราสามารถหาจำนวนคนที่คุณต้องนำพามาเข้าเว็บได้ โดยการนำเอาจำนวนเสื้อที่ต้องการขายต่อเดือนมาหารด้วย CR ดังนี้

สูตรคำนวณคนเข้าเว็บจาก google

ก็จะได้ออกมาว่าจำนวนคนที่คุณต้องนำพามาเข้าเว็บด้วยการทำ เอสอีโอตัองมีจำนวนอย่างน้อย 10,000 คน ต่อเดือน เพื่อที่จะขายเสื้อได้ 200 ตัว ทำยอดได้ 40,000 บาท และได้กำไร 20,000 บาท ตามที่ได้ตั้งเป้าไว้

2) การทำ Search Engine Optimization เริ่มต้นจาก Keyword Research

SEO เริ่มต้นจากคำหลัก (Keyword) เพราะสามารถใช้เป็นตัวกำหนดกลุ่มเป้าหมายเจาะจง ระบุโอกาสใหม่ ๆ และวัดความก้าวหน้าเมื่อเวลาผ่านไป

คำหลัก (Keyword) คำหลัก คือวลีหรือคำที่ผู้ใช้งานาเสิร์ชเอนจิน ใช้ค้นหาข้อมูลที่ต้องการ

เจ้าของเว็บไซต์ควรวางแผนการใช้ Keywords อย่างมีกลยุทธ์ ยึดปัจจัย 3 ประการ ในการหาคำหลักดังนี้

  1. ใช้คำที่ตรงกับสินค้า/บริการและตรงใจคนใช้งาน Search Engines
  2. มีคนหา Keywords ที่คุณทำ ในปริมาณทียอมรับได้ในแต่ละเดือน
  3. มีคู่แข่งไม่มากจนเกินไป

เพื่อเว็บไซต์ของตนจะปรากฏอยู่ในอันดับที่สูงในเครื่องมือค้นหา ส่งผลให้มีผู้เข้าชมและผู้มีโอกาสเป็นลูกค้ามากขึ้น Keyword ยังช่วยสร้างเนื้อหาที่เป็นมิตรกับทั้งผู้ใช้และเครื่องมือค้นหา เพื่อให้สามารถจัดทำดัชนีได้ง่ายขึ้น

3) นำคีย์เวิร์ดมาทำ Content ให้โดนใจคน

Rand Fishkiin ผู้ก่อตั้ง MOZ ได้ให้ความหมายกลยุทธ์ “10x content” ว่าคือการทำคอนเทนต์ให้ดีกว่าคู่แข่งในหน้าแรกกูเกิล 10 เท่า

วิธีการสร้าง Quality Content

ในหัวข้อนี้เรามาพูดถึงองค์ประกอบที่ทำให้เนื้อหาของคุณเป็นคอนเทนต์ชั้นเลิศ ดีกว่าคู่แข่งของคุณ อืมม์ อาจไม่ถึง 10 เท่า แต่ก็เพียงพอที่จะติดหน้า 1 ได้

1. เนื้อหาที่ดีกว่า (Quality)

ในยุคนี้ พ.ศ. นี้ถ้าคุณสร้างหน้าที่เต็มไปด้วยเนื้อหาคุณภาพที่สามารถแก้ปัญหาให้ผู้อ่านได้จริง แบรนด์คุณจะเป็นที่จดจำ ยิ่งไปกว่านั้น Google จะให้รางวัลด้วยการให้คุณติดอันดับดีๆ ด้วย

องค์ประกอบที่ทำให้ web มีคุณภาพประกอบไปด้วย

  • เนื้อหา ครอบคลุมหัวข้อให้ละเอียดมากกว่าคู่แข่งของคุณ (ดูตัวอย่างหน้าเว็บที่มีอันดับสูงๆ แล้วก็คิดให้ออกว่าจะทำอะไรได้บ้างให้เนื้อหาดีกว่าคู่แข่ง)
  • ให้ข้อมูลใหม่ ข้อมูลล่าสุด
  • ไม่ลอกเนื้อหาของคนอื่นมาใชทั้งดุ้น นำมาเขียนใหม่ในคำของคุณเอง ไม่ให้เหมือนใคร
  • บทความยาวๆ มีโอกาสที่จะได้อันดับดี แต่อย่าเข้าใจผิด แล้วไปสรรค์หาคำอะไรไม่รู้ มีแต่น้ำ ไม่มีเนื้อใส่ๆๆๆ ลงไป ขอให้เข้าใจเสียใหม่ว่าไม่ใช่จำนวนคำที่ทำให้อันดับสูง แต่เป็นเพราะว่าโพสต์ยาวมักจะครอบคลุมเนื้อหาได้ลึก และครบถ้วนมากกว่าบทความสั้นๆ

2. ความสดใหม่ (Freshness)

Google ชอบเห็นเนื้อหาสดใหม่ ดังนั้นตีพิมพ์เนื้อหาคุณภาพใหม่ๆ บ่อยๆ ไม่ใช่ปีนึงโพสต์บทความแล้ว อันนั้นก็น้อยไป

การทำให้เว็บคุณดูใหม่อยู่ตลอดในสายตาเสิร์ชเอนจิ้นทำได้หลากหลายทางนอกจากการเขียนบทความใหม่ คุณสามารถอัพเดทบทความเก่าด้วยข้อมูลใหม่ล่าสุด, แก้ไขลิงก์ตาย หรือเพิ่มห้วข้อรองเข้าไปเพื่อให้เนื้อหาที่ลึกและครอบคลุมมากขึ้น

3. ดีไซน์ที่ดีกว่า (UX Design)

นอกจากเนื้อหาที่ดี ใหม่แล้ว ถ้าคอนเทนต์ของคุณจำเป็นต้องมีรูปลักษณ์ที่ดีด้วย เพื่อความน่าติดตาม เพิ่มความน่าเชื่อถือ และไม่น่าเบื่อ

  • ต้องให้ชัวร์ว่าข้อความอ่านง่าย ใช้ฟอนต์ขนาดใหญ่อ่านได้สบายตา
  • ระวังอย่าใช้ข้อความยาวๆ ติดกันเป็นพรืด เขียนให้กระชับ สั้น เข้าใจง่าย
  • ใช้คอนเทนต์ที่หลากหลายนอกจากตัวหนังสือ เช่น รูปภาพ, animation, วีดีโอ เป็นต้น เพื่อให้น่าติดตามและทำความเข้าใจได้ง่าย
  • ถ้าหน้ามันยาวมาก มีหลายหัวข้อย่อย แนะนำให้ใส่ตารางสารบัญเพื่อความง่ายในการอ่าน
  • เน้นข้อความสำคัญอย่างเหมาะสม เช่น ตัวหนา, ตัวเอน, Quote เป็นต้น

สิ่งที่อยากเน้นอีกทีก็คือ จริงอยู่เราทำ SEO Content เพื่อให้ติดหน้า 1 Google แต่เราต้องไม่ลืมคนตัวเป็นๆ ผู้ที่เสพคอนเทนต์จริงๆ ว่าคือใคร และเขาต้องการเห็นเนื้อหาแบบไหน ถ้าไม่สนใจหรือลืมจุดนี้ เหนื่อยหน่อยครับกับการติดอันดับดีๆ ในเครื่องมือค้นหา

4) 8 เทคนิค ทำ SEO On-Page Optimization

การทำ On-page SEO (หรือบางคนเรียกว่า On-site ก็ไม่ผิด) เป็นการทำให้หน้าเว็บของคุณมีรายละเอียด เนื้อหามีคุณแภาพและแม่นตรง (Relevance) กับคีย์เวิร์ดที่ผู้ใช้ค้นหา เพื่อที่ Google จะได้หาหน้าเว็บของคุณเจอ และนำไปแสดงในผลการค้นหา

กูเกิลจะสแกนหน้าเว็บของคุณหาคำและวลีต่างๆ เพื่อที่จะสรุปว่าหน้านั้นๆ เกี่ยวข้องกับอะไร ดังนั้นการใส่คีย์เวิร์ดในจุดยุทธศาสตร์ต่างๆ บน web page จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในการทำ Ranking

1. ชื่อเพจ (Title Tag)

Title คือโค้ด HTML ที่ระบุชื่อของหน้าเว็บหนึ่งๆ ถ้าดูในโค้ดจะเห็นว่าแท็กนี้จะถูกฝังอยู่ใน Head Tag อีกที
<head>
<title>ใส่ชื่อเพจในนี้</title>
</head>
แต่ละหน้าในเว็บไซต์ของคุณควรมีชื่อที่สื่อความหมาย และไม่ซ้ำกัน สิ่งที่คุณใส่ลงไปจะแสดงในหน้าผลการค้นหา

ตัวอย่าง Meta Description ใน SERP

และอาจถูกแสดงไว้ใน Browser ด้วย

ตัวอย่าง Title ใน Browser

แนะนำวิธีเขียนชื่อเว็บเพจ

การเขียน Title Tag อย่างถูกต้อง

  • คีย์เวิร์ด: ถ้าทำได้แนะนำให้ใส่คำหลักด้านหน้าๆ ของ Title tag เพราะว่าผู้ใช้มีแนวโน้มที่จะอ่านและคลิกสูง ผลต่อการทำอันดับก็ดีด้วย
  • ความยาว: โดยเฉลี่ยเครื่องมือค้นหาจะแสดง 50-60 อักขระแรก (~512 พิกเซล) ของ Title Tag ใน SERP หากของคุณยาวเกินก็จะถูกตัดออกและจุดไข่ปลา “…” จะปรากฏขึ้นแทน ดังนั้นแนะนำว่าให้เขียนกระชับ ได้ใจความใน 60 อักษร
  • สร้างแบรนด์: แนะนำให้ปิดท้ายชื่อหน้าเพจ ด้วย Brand Name เพื่อส่งเสริมการรับรู้ถึงแบรนด์และเพิ่มอัตราการคลิกในหมู่ผู้ที่คุ้นเคยกับแบรนด์ของคุณอยู่แล้ว

2. คำจำกัดความหน้าเพจ (Meta Description)

Meta Description คือ HTML Tag อธิบายเนื้อหาของหน้าเว็บหนึ่งๆ แท็กนี้จะถูกฝังอยู่ใน Head Tag เช่นกัน
<head>
<meta name=”description” content=”คำอธิบายหน้าใส่ตรงนี้” />
</head>
รูปด้านล่างแสดงตัวอย่าง Meta Description ใน SERP

ตัวอย่าง Meta Description ใน SERP

วิธีเขียน Meta Description

Google ได้พูดเองว่าอย่าไปให้ความสำคัญกับ Meta Description มาก เนื่องจากไม่ได้มีผลต่อการทำอันดับ ผมแนะนำให้เน้นเขียนเพื่อขายของให้คนคลิกมากกว่า อย่าลืมใส่คีย์เวิร์ดเพราะจะเป็นตัวหนา ซึ่งทำให้มีโอกาสถูกคลิกสูงขึ้นเช่นกัน

3. หัวข้อย่อย (Header tags)

Header Tag คือ HTML แท็กที่ใช้ในการกำหนดหัวเรื่องของ web page หัวข้อหลักจะใช้ header tag เรียกว่า H1

<h1>หัวข้อหลัก</h1>

หัวข้อย่อยจะใช้ H2, H3, H4, H5 และ H6 โดยลำดับความสำคัญไล่จาก H1 สำคัญมากที่สุด ไล่ไปจนถึง H6 สำคัญน้อยสุด

ตัวอย่างโค้ดการจัดเรียงหัวข้อใช้ Header Tag

<h1>รองเท้าวิ่ง</h1>

<h2>รองเท้าวิ่งผู้หญิง</h2>

<h3>รองเท้าวิ่งราคาถูก</h3>

<h3>รีวิวรองเท้าวิ่งผู้หญิง</h3>

<h4>Nike</h4>

<h4>Adidas</h4>

รูปร่างหน้าตาเมื่อดูในเว็บเบราว์เซอร์จะออกมาแบบนี้

แสดงตัวอย่าง H1-Hู6 ใน Browser

ข้อแนะนำในการเขียนหัวข้อ

  • แต่ละหน้าควรมีหัวข้อหลักหนึ่งหัวข้อ หนึ่ง H1 และไม่ควรใช้ซ้ำกัน
  • พิจารณาใช้ H2-H6 ตามความเหมาะสม ไม่จำเป็นต้องพยายามใช้ทั้งหมด
  • ไม่ควรใช้ Header Tag กับองค์ประกอบในหน้าเพจที่ไม่ใช่หัวข้อ เช่น หมายเลขโทรศัพท์, เมนู เป็นต้น

4. รูปภาพ (Image)

รูปภาพเป็นตัวการที่ใหญ่ที่สุดทำให้หน้าเว็บโหลดช้า วิธีที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหานี้คือการบีบอัดภาพภาพ แนะนำเครื่องมือ 2 ตัวได้แก่ kraken.io และ tinypng.com

วิธีการใช้ TinyPNG

เลือกใช้ตัวไหนก็ได้ครับฟรีทั้ง 2 ตัว ประสิทธิภาพในการลดขนาดภาพ tinypng จะดีกว่าหน่อย interface ใช้งานง่ายทั้งคู่ ลากแล้ววาง ตามตัวอย่างใน animation ด้านบน

Tips: นอกจากรูปภาพแล้ว เว็บที่ผนวกวีดีโอที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับหน้านั้น แถมยังน่าติดตามสร้างความประทับใจให้กับ user มากทีเดียว ดังนั้นถ้าคุณสามารถสร้างวีดีโอคุณภาพสูงได้ ก็อแนะนำให้ทำ และประโยชน์อีกอย่างคือคุณสามารถที่จะทำ SEO ให้กับวีดีโอที่คุณสร้างได้ด้วย เป็นช่องทางในการหาลูกค้าเข้าร้านออนไลน์ของคุณ

เลือกใช้ประเภทรูปภาพอย่างถูกต้อง

Mind Map แสดงการเลือกใช้ประเภทรูปภาพ

  • หากรูปภาพของคุณเป็นแอนิเมชั่นให้ใช้ GIF
  • หากคุณต้องการรักษาความละเอียดของภาพไว้สูง ให้ใช้ PNG เช่น รูปภาพที่มีการวาดเส้น, ภาพหน้าจอ, รูปภาพที่มีข้อความ เป็นต้น
  • หากคุณไม่ต้องการรักษาความละเอียดของภาพสูงไว้ ให้ใช้ JPEG

5. คำจำกัดความรูปภาพ (Alt Text)

Alt Text (Alternative Text) ใช้เพื่ออธิบายรูปภาพแก่ผู้พิการทางสายตาให้เข้าใจว่ารูปนั้นๆ เกี่ยวกับอะไร เครื่องมือค้นหาก็ใช้ Alt text เพื่อทำความเข้าใจรูปภาพในเว็บคุณเช่นกัน

ข้อแนะนำในการเขียน Alt Text

  • เขียนคำอธิบายรูปภาพให้ดูเป็นธรรมชาติสำหรับคนอ่าน: สั้น กระชับ ได้ใจความ
  • หลีกเลี่ยงการใส่คีย์เวิร์ดเกินความจำเป็น (Keyword Stuffing)

เปรียบเทียบ Alt Text ที่ถูกและผิด

ไม่แนะนำ:
<img src=”women-shoes.jpg” alt=”รองเท้าส้นสูงราคาถูก, ไม่แพง ส้นสูง, ส้นสูงลดราคา, รองเท้าส้นสูงไม่เกิน 500” />

แนะนำ
<img src=”women-shoes.jpg” alt=”โปรโมชั่นรองเท้าส้นสูงสีชมพู ราคาถูก” />

6. จัดรูปแบบให้อ่านง่าย

คุณอาจจะเสียเวลาเป็นวันๆ ในการรวบรวบเรียบเรียงข้อมูลเพื่อที่จะมาเขียนคอนเทนต์ขั้นเทพ แต่ถ้าคุณจัดรูปแบบไม่ถูกต้อง คนอาจไม่อ่านเลยก็ได้ อันที่จริงไม่มีใครสามารถรับประกันได้ 100% ว่าผู้เยี่ยมชมจะอ่านเนื้อหาหรือไม่ แต่ก็มีวิธีที่ทำแล้วช่วยเพิ่มโอกาสให้คนอยากอ่านและติดตามเนื้อหาของคุณได้ ดังนี้

  • ขนาดและสีของข้อความ – หลีกเลี่ยงการใช้อักษรที่เล็กเกินไป คนอ่านโดยเฉพาะในมือถือจะได้ไม่ต้องมานั่งเอานิ้วขยายหน้าจอบ่อยๆ Google แนะนำให้ใช้ฟอนท์ขนาด 16 ขึ้น ควรเลือกใช้สีที่สบายตา และต่างจาก background ชัดเจน สำหรับเว็บมาสเตอร์อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางการเข้าถึงเว็บไซต์
  • หัวข้อ – ใช้หัวข้อหลักและย่อยเพื่อช่วยให้ผู้อ่านไปยังส่วนต่างๆ ของหน้าได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะบทความยาวๆ ผู้อ่านสามารถเลือกอ่านเฉพาะหัวข้อที่สนใจได้ ไม่ต้องไล่อ่านตั้งแต่ต้นจนจบ
  • สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย (Bullet Points) – ช่วยให้ผู้อ่านหาข้อมูลที่ต้องการได้รวดเร็วยิ่งขึ้น คุณสามารถเลือกใช้ HTML List แท็ก <ol> (Ordered List) เพื่อแสดงรายการแบบตัวเลข หรือ <ul> (Unordered List) ในการแสดงรายการหัวข้อย่อย
  • ตัวแบ่งย่อหน้า (Paragraph) – การเขียนติดกันเป็นพรืดไม่มีย่อหน้าเลย ทำให้ผู้อ่านเบื่อ แนะนำให้ใช้ HTML แท็ก <p> เพื่อแบ่งย่อหน้า จะช่วยผู้เยี่ยมชมอยากใช้เวลาใน web site คุณมากขึ้น
  • สื่อสนับสนุน – ใส่รูปภาพ วิดีโอ และวิดเจ็ตที่จะช่วยเสริมความน่าสนใจให้เนื้อหาของคุณตามความเหมาะสม
  • ตัวหนาและตัวเอียง – การใช้ตัวหนา (<strong> แท็ก) และตัวเอง (<i> แท็ก) ช่วยเน้นประเด็นหรือจุดสำคัญในบทความ ไม่ได้มีกฏตายตัวกว่าต้องใช้มากน้อยอย่างใร พิจารณาใช้อย่างสมเหตุสมผล

7. Featured Snippets

การจัดรูปแบบ (Format) อาจทำให้เว็บคุณถูกแสดงในตัวอย่างข้อมูลเด่น (Featured snippets) ที่อยู่ด้านบนผลการค้นหาแบบทั่วไป

คุณจ่ายเงินเพื่อแสดงเว็บเพจในตำแหน่งนี้ไม่ได้ ไม่มีโค้ดพิเศษอะไรที่คุณใส่แล้วสามารถแสดงในตำแหน่งนี้ด้วย สิ่งที่คุณทำได้คือจัดรูปแบบคอนเทนต์อย่างเหมาะสมให้ตรงกับความต้องการของผู้ค้นหา
เช่น ถ้าคุณกำลังทำคีย์เวิร์ด “ส่วนผสมผัดกระเพราะ” ลองหลับตาแล้วนึกดูว่าผู้ใช้ต้องการเห็นคอนเทนต์ที่มี Format แบบไหน ผมมีให้คุณ 3 ตัวเลือก

  1. บทความยาวๆ สอนทำผัดกระเพรา?
  2. ตารางเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย?
  3. รายการส่วนผสม?

ตัวอย่างการจัดรูปแบบเพื่อแสดงใน Featured Snippet

ถ้าคุณตอบว่า “รายการส่วนผสม” แสดงว่าคุณมีความเข้าใจหัวอกผู้ใช้งาน (Search Intent) แล้ว สิ่งที่คุณต้องทำคือจัดรูปแบบเว็บคุณโดยใช้ html tag อย่างเหมาะสมต่อไป

ตัวอย่าง Featured Snippet ใน SERP

เท่านี้เว็บคุณก็มีโอกาสมากกว่าเว็บอื่นๆ ในการแสดงใน Featured Snippet แล้ว

8. ลิงก์เชื่อมโยงภายใน (Internal Links)

โครงสร้างการเชื่อมโยงภายในเว็บไซต์ทำได้ด้วยการใช้ไฮเปอร์ลิงก์ (hyperlink) เชื่อมหน้าต่างๆ ในเว็บไซต์เข้าด้วยกัน

โครงสร้างลิงก์เชื่อมโยงภายในเว็บ

ประโยชน์ของลิงก์ภายใน:

  • ทำให้บอทของเสิร์ชเอนจินค้นพบและทำดัชนีเว็บเพจของคุณได้
  • ส่งสิ่งที่เรียกว่า Link Equity หรือความสามารถในการทำอันดับไปยังทุกส่วนของเว็บไซต์
  • ช่วยให้ผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บใช้งานเว็บคุณไปในส่วนต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

คุณควรสร้างลิงก์เชื่อมโยงภายในอย่างสมเหตุสมผล โดยมุ่งหวังให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจสิ่งที่คุณต้องการสื่อสารได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น ได้ข้อมูลที่ครบขึ้น

9. SEO สำหรับมือถือต้องมาก่อน

การจัดทำดัชนีเพื่ออุปกรณ์เคลื่อนที่เป็นอันดับแรก (Mobile First Index) เป็นวิธีที่เครื่องมือค้นหา เช่น Google ใช้เพื่อพิจารณาเนื้อหาเว็บไซต์เวอร์ชันอุปกรณ์เคลื่อนที่เป็นหลักในการจัดทำดัชนีและการจัดอันดับ แทนที่จะเป็นเวอร์ชันเดสก์ท็อป ซึ่งหมายความว่าเว็บไซต์เวอร์ชันมือถือมีความสำคัญมากขึ้นในการกำหนดตำแหน่งในหน้าผลลัพธ์ของเครื่องมือค้นหา (SERP)

SEO บนมือถือซึ่งมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มประสิทธิภาพเว็บไซต์สำหรับอุปกรณ์มือถือ รวมถึงความเร็วในการโหลด การตอบสนอง และประสบการณ์ผู้ใช้ เป็นสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจในท้องถิ่นด้วยเหตุผลหลายประการ:

  1. คนเดี๋ยวนี้ใช้มือถือกันมาก: อุปกรณ์มือถือกลายเป็นวิธีการหลักในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ซึ่งแซงหน้าการใช้งานเดสก์ท็อป ด้วยเหตุนี้ ธุรกิจในท้องถิ่นจึงต้องแน่ใจว่าเว็บไซต์ของตนเหมาะกับอุปกรณ์เคลื่อนที่เพื่อเข้าถึงและมีส่วนร่วมกับกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. ความต้องการหาสิ่งๆต่างๆ ในระดับท้องถิ่น: การค้นหาบนมือถือมักจะมีคำค้นหาที่เกี่ยวกับความต้องการหาสิ่งต่างๆ ในพื่นที่ เนื่องจากผู้ใช้มักค้นหาธุรกิจ บริการ หรือผลิตภัณฑ์ในบริเวณใกล้เคียงในขณะเดินทาง หากเว็บไซต์ของธุรกิจท้องถิ่นไม่ได้รับการปรับให้เหมาะกับอุปกรณ์เคลื่อนที่ เว็บไซต์นั้นอาจไม่ปรากฏในผลการค้นหาในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้ผู้มีโอกาสเป็นลูกค้าสูญเสียไป
  3. การจัดทำดัชนีเพื่อมือถือเป็นอันดับแรกของ Google: ด้วยการจัดทำดัชนีเพื่อมือถือเป็นอันดับแรกของ Google เวอร์ชันมือถือของเว็บไซต์ ถือเป็นแหล่งที่มาหลักสำหรับการจัดทำดัชนีและการจัดอันดับ หากเว็บไซต์ขาดการออกแบบที่เหมาะกับมือถือหรือมีความเร็วในการโหลดช้าบนอุปกรณ์มือถือ อาจส่งผลเสียต่อการมองเห็นและการจัดอันดับใน SERP
  4. ประสบการณ์ผู้ใช้และการมีส่วนร่วม: การเพิ่มประสิทธิภาพอุปกรณ์เคลื่อนที่ไม่เพียงส่งผลต่ออันดับการค้นหา แต่ยังมีบทบาทสำคัญในการมอบประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้ใช้อีกด้วย ความเร็วในการโหลดช้า การไปส่วนต่างๆ ของเว็บที่ทำได้ยากลำบาก หรือการออกแบบเว็บไซต์ที่ไม่ตอบสนองอาจทำให้ผู้ใช้มือถือหงุดหงิดและนำไปสู่การออกไปเว็บอื่นสูงขึ้น ในทางกลับกัน เว็บไซต์ที่ปรับให้เหมาะกับอุปกรณ์เคลื่อนที่ซึ่งมีความเร็วในการโหลดที่รวดเร็วและการนำทางที่ง่ายดายจะช่วยเพิ่มประสบการณ์ผู้ใช้ เพิ่มการมีส่วนร่วม และเพิ่มโอกาสในการแปลงธุรกิจในท้องถิ่น
  5. ความได้เปรียบทางการแข่งขัน: เนื่องจากการใช้งานมือถือยังคงเพิ่มขึ้น ธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับ Mobile SEO และมอบประสบการณ์มือถือที่ราบรื่นจะมีความได้เปรียบทางการแข่งขัน ธุรกิจในท้องถิ่นสามารถดึงดูดและรักษาผู้ใช้มือถือไว้ได้ โดยทำให้แน่ใจว่าเว็บไซต์จะโหลดได้อย่างรวดเร็ว ใช้งานง่าย และนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องและเป็นภาษาท้องถิ่น โดยทำได้ดีกว่าคู่แข่งที่ละเลยการเพิ่มประสิทธิภาพมือถือ

การจัดทำดัชนีเพื่อมือถือเป็นหลักและ SEO บนมือถือ รวมถึงความเร็วในการโหลด เป็นสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจในท้องถิ่นในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ปรับปรุงอันดับการค้นหา ปรับปรุงประสบการณ์ผู้ใช้ และได้รับความได้เปรียบทางการแข่งขันในภูมิทัศน์ดิจิทัลที่ครอบงำโดยมือถือ

5) สร้าง Backlink ยังไง ไม่ให้ถูกทำโทษ

การสร้าง Backlink หรือ ลิงก์ มีมากมายหลายกลวิธี อาทิ ลิงก์จากการแสดงความคิดเห็น (Comments), จากการเขียนบทความลงเว็บอื่น (Guest Post), จาการไปฝากข้อมูลธุรกิจเว็บตามไดเรกทอรีต่างๆ (Citation) เป็นต้น

ส่วนตัวเห็นว่าใช้วิธีไหนก็ได้ไม่ผิด ถ้าองค์ประกอบของลิงก์ที่สร้างนั้นถูก องค์ประกอบทีผมว่ามีรายละเอียดดังนี้

  1. จำนวนลิงก์ – ถ้าคุณใส่ลิงก์ในหน้ามากจะส่งผลให้ Link Equity ถูกแบ่งไปยังหน้าปลายทางได้น้อยลง
  2. Anchor Text – ข้อความ Anchor ทำให้เครื่องมือค้นหาและผู้ใช้รู้คร่าวๆ ถึงบริบทเนื้อหาของหน้าปลายว่าเกี่ยวกับอะไร ความพยายามใดๆ ในการใช้ข้อความ Anchor แบบไม่เป็นธรรมชาติ แต่มุ่งหวังเพื่อการดันอันดับอย่างเดียว อาจถูกตรวจพบและลงโทษโดย Google ได้
  3. ลิงก์ที่เข้าถึงได้ – แนะนำให้สร้างลิงก์โดยใช้ <a> tag เพื่อความมั่นใจว่า Link Equity สามารถถูกส่งไปปลายทางได้ครบถ้วน ไม่ตกหล่น เทคโนโลยีบางประเภท เช่น Javascript จะซ่อนลิงก์ไว้ บอทจึงไม่สามารถไปยังหน้าปลายทางได้ ไม่แนะนำครับ
  4. Nofollow links – ลิงก์ ที่มีแอตทริบิวต์ rel=”nofollow” จะไม่ส่งต่อเครดิตหรือ Link Equity ไปยังหน้าปลายทาง ควรตรวจสอบให้ดีว่าลิงก์ไหนต้องการหรือไม่ต้องการใช้ attribute นี้
  5. Domain/Page Authority – ความแข็งแรงเชิง SEO โดยรวมของเว็บไซต์ (Domain Authority) สามารถถูกส่งผ่านไปยังหน้าเว็บเพจต่างๆ ในเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ที่เชื่อมโยงกันเองภายใน หรือ Internal Links หน้าไหนได้รับลิงก์จากหน้าอื่นมาก ความแข็งแรงเชิง SEO ของหน้า (Page Authority) นั้นๆ ก็จะสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว ดังนั้นวางแผนการสร้าง links ภายในให้ดี ดันอันดับให้ขึ้นได้ครับ
  6. Link Relevance – ลิงก์ที่ชี้เข้ามาก็ควรเป็นลิงก์จากเพจที่เกี่ยวข้องกับหน้าปลายทาง ไม่เช่นนั้นลิงก์จะถูกด้อยค่าลงในสายตา Google

6) วัดผลการทำ SEO

ทำอะไรก็ต้องมีการรายงานและวัดผล ในหัวข้อนี้เรามาสาธยายกันในเรื่องของการวัดผลการทำ SEO กัน ว่าคีย์เวิร์ด (Keywords) ที่เราทำนั้น ติดอันดับในหน้าไหนของกูเกิ้ล จะได้ประเมินถูกว่าต่อไปจะเอายังไงต่อไปกับชีวิต

การติดตามอันดับคีย์เวิร์ด (Rank Tracking)

การติดตามอันดับคือกระบวนการตรวจสอบประสิทธิภาพของเว็บไซต์ของคุณในการทำ SEO ผ่านทางคีย์เวิร์ด มีเครื่องมือที่คุณสามารถใช้ในการทำ Rank Tracking มากมายหลายตัว ในบทความนี้ขอยกตัวอย่างการใช้งานโปรแกรมชื่อ Rank Aware (myrankaware.com)

  1. ขั้นตอนแรกเมื่อติดตั้งเสร็จ ให้เปิด software ขึ้นมา
  2. ป้อน URL หน้าหลักหรือ homepage ของคุณลงไป
  3. ต่อไปให้คุณป้อนคีย์เวิร์ดที่ต้องการเช็คลงไป โดยให้ใส่ 1 คำต่อ 1 บรรทัด อย่างที่ไฮไลท์สีเหลืองๆ ในรูปด้านล่าง

ป้อนคำหลักลงไป Rankaware

ต่อไปให้คุณเลือก search engine ที่คุณต้องการเช็ค เช่น คุณต้องการเช็คอันดับใน Google ประเทศไทย ก็ให้คุณเลือก www.google.co.th เป็นต้น เสร็จแล้วคลิก ‘Done’ เท่านี้ก็เสร็จครับ Rank Aware จะเริ่มต้นทำงานไปเช็คอันดับ keyword ให้คุณแล้ว

BONUS: วิเคราะห์ข้อมูล Traffic ใน Google analytics

ตอนนี้คุณสามารถรู้ได้ว่าคนที่มาเว็บคุณนั้นมาด้วย Keyword อะไรบ้าง แต่คุณยังไม่รู้ว่าเขาเหล่านั้นมีพฤติกรรมอะไร ใช้งานเว็บคุณอย่างไร

ปัญหานี้จะหมดไปด้วยโปรแกรมฟรีชื่อ Google Analytics (GA) ในบทความนี้ขอยกตัวอย่างรายงานพื้นฐานสัก 2-3 รายงานที่จะช่วยให้คุณเข้าใจ SEO Traffic มากขึ้น

1. ที่มาคนเข้าเว็บ (Acquisition Report)

รายงาน Acquisition (ที่เมนูบาร์ด้านซ้ายมือใน GA) ช่วยให้คุณเปรียบเทียบการเข้าชมเว็บที่มาจาก SEO กับ Traffic ที่มาจากช่องทางอื่นๆ

รายงานแหล่งที่มา Traffic

ตัวอย่างเช่น

  • Social – ผู้ใช้งานจากเว็บประเภท Social Media ต่างๆ เช่น Facebook และอื่นๆ
  • Referral – การเข้าชมที่มายังไซต์ของคุณจากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่เครื่องมือค้นหา เช่น เมื่อคุณคลิก ลิงก์จากเว็บ A ไปยังเว็บ B กูเกิล แอนะลิติกส์ จะถือว่าเว็บ A เป็น Referral Traffic มายังเว็บ B
  • Paid Search – ผู้ใช้ที่คลิกโฆษณาใน Google แล้วมายังเว็บคุณ

2. อัตราการตีกลับ (Bounce Rate)

Bounce Rate แปลว่าอัตราการตีกลับ จะเกิดขึ้นเมื่อผู้ใช้เข้าสู่หน้าเว็บไซต์และออกเลย

ตัวอย่างเช่น หากผู้ใช้คลิกลิงก์ใน Google และเข้ามาที่หน้า Homepage ของคุณ พอมาถึงก็เลื่อนเม้าส์ไปมา ไม่ได้มีการปฏิสัมพันธ์ชัดเจน เช่น ไม่ได้คลิกลิงก์, ไม่ได้คลิกดูคลิปวีดีโอ และอื่นๆ จากนั้นก็ออกจากเว็บคุณไป อย่างนี้เรียกว่ามีอัตราการตีกลับ หรือ Bounce Rate จากหน้า Homepage

ใน GA คุณสามารถดูอัตราตีกลับในรายงานที่มีตารางข้อมูล เช่น พฤติกรรม (Behavior > Site Content > All Pages report) เป็นต้น

bounce rate ใน GA

อัตราการตีกลับสูงหมายถึงคอนเทนต์ในหน้าเว็บไม่ตอบโจทย์ ดังนั้นคุณควรตั้งเป้าหมายที่จะลดอัตราตีกลับ เพื่อให้ผู้คนมีส่วนร่วมกับเว็บไซต์ของคุณมากขึ้น

3. ความเร็วโหลดเว็บ (Site Speed Report)

รายงานความเร็วในการโหลดหน้าเว็บใน GA ให้รายละเอียดเกี่ยวกับคอนเทนต๋ในหน้าว่าใช้ระยะเวลามากน้อยแค่ไหนในการโหลด

เปิดรายงานด้วยการคลิก ‘Behavior’ > ‘Site Speed’ ต่อไปคลิก ‘Technical’ (อยู่ใต้แท็บ ‘Explorer’ ที่ด้านบนของรายงาน) จากนั้นจากนั้นคลิกไอคอนตาราง (ทางด้านขวาของช่องค้นหาใต้กราฟ)

รายงานความเร็วเว็บไซต์

คอลัมน์ “Avg. Page Load Time” จะแสดงเวลาเฉลี่ยในการโหลดแต่ละหน้า หน้าไหนใช้เวลาโหลดมากกว่า 3 วินาที แนะนำให้ปรับปรุงครับ

4. หน้าที่ใช้ชื่อซ้ำกัน (Duplicate Title)

ตามหลักการแล้ว แต่ละหน้าในเว็บไซต์ของคุณไม่ควรใช้ชื่อหน้าซ้ำกัน แต่ถ้าคุณสงสัยว่าในเว็บคุณมีหน้าที่ใช้ Page Title ซ้ำกันหรือไม่ คุณสามารถเช็คใน GA ได้

ให้คุณคลิกที่ ‘Site Content’ > ‘All Pages’ ต่อไปคลิกที่ ‘Page Title’ เพื่อแสดงชื่อแต่ละหน้าเพจ

หา Duplicate Title ใน GA

เมื่อคุณคลิกที่ชื่อหน้าเพจของแต่ละหน้า คุณอาจเห็นมากกว่า 1 URL ที่ใช้ชื่อหน้าร่วมกัน ให้คุณสละเวลาคลิกแต่ละชื่อหน้าเพื่อตรวจสอบและแก้ไขเพื่อให้ปัญหา Duplicate Title หมดไป

การเรียนรู้ใช้งาน Google Analytics ไม่ได้ยาก แต่ใช้เวลาหน่อย เพราะมี Function การใช้งานค่อนข้างมาก

Black Hat SEO ถ้าอยากติดอันดับบนๆ ระวัง! อย่าหาทำ

Black Hat SEO เทคนิคและกลยุทธ์ในการทำ SEO ที่เน้นสแปม (Spam) หรือหลอกเครื่องมือค้นหา กลยุทธ์ลักษณะนี้อาจจะได้ผล แต่จากประสบการณ์มักจะได้ผลในระยะสั้น

เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น ขอยกตัวอย่างเทคนิคยอดนิยมที่นักทำสายดำเขาใช้กัน:

  • การใช้เนื้อหาซ้ำ (Duplicate Content): เมื่อต้องการทำอันดับคีย์เวิร์ด บางท่านก็ใช้เนื้อหาเดียวกันซ้ำๆ ในหลายหน้า เพื่อที่จะใส่คีย์เวิร์ดดังกล่าวได้หลายๆ ครั้ง
  • การซ่อนคีย์เวิร์ด: หลายปีมาแล้วมีความพยายาม (ที่ได้ผลเสียด้วย) ที่ต้องการยัดคีย์เวิร์ดซ้ำๆ ในหน้าที่ต้องการทำ Ranking โดยทำให้สีของคำนั้นๆ เป็นสีเดียวหรือกลืนกันกับสีแบ็คกราวน์ของหน้า ปัจจุบันอย่าหาทำนะครับ เว็บคุณจะถูกขึ้นบัญชีดำเร็วมาก
  • การเปลี่ยนทิศทาง (Redirects): การเปลี่ยนทิศทางนั้นโดยทั่วไปเป็นเทคนิกที่ทำได้ และแนะนำให้ทำในการแก้ไขปัญหาบางอย่าง เช่น การแก้ปัญหา Duplicate Content เป็นต้น แต่ชาวสายดำได้นำไปใช้ผิดวิธี เช่น การกว้านซื้อโดเมนที่มีคีย์เวิร์ด (เช่น www.คีย์เวิร์ด1.com, www.คีย์เวิร์ด2.com เป็นต้น) และ Redirect มายังเว็บที่กำลังทำอันดับ SEO อยู่ โดยหวังว่าจะได้คนมาเข้าเว็บเพิ่ม และอันดับคีย์เวิร์ดดีขึ้นด้วย
  • ลิงก์คุณภาพต่ำ: ลิงก์ยังคงเป็นปัจจัยที่สำคัญมากๆ ในการดันเว็บ การทำก็ควรที่จะทำด้วยวิธีที่ถูกต้อง ไม่ใช่นึกจะทำก็ไปซื้อมา 5,000 ลิงก์ ยิงเปรี้ยงมายังเว็บคุณรวดเดียวใน 2 ชั่วโมง อีหรอบนี้ไม่มีทางที่คุณจะขึ้นไปเหยียบหน้าแรกเครื่องมือค้นหาอย่างกูเกิ้ลแน่ๆ

ทำเอง หรือจ้างบริษัท?

ขึ้นอยู่กับความเต็มใจที่จะเรียนรู้ และความซับซ้อนของเว็บไซต์ของคุณ ถ้าเว็บคุณเล็กๆ ไม่ซับซ้อนมาก คุณสามารถทำ SEO ขั้นพื้นฐานได้ด้วยตัวเอง

หากคุณต้องการความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ สิ่งสำคัญคือต้องรู้ว่าเอเจนซี่และที่ปรึกษาที่ให้บริการ SEO มีคุณภาพอาจแตกต่างกันค่อนข้างมาก

ทุกวันนี้การทำ SEO แบบถูกต้อง มีคุณภาพจริงๆ มีต้นทุนสูงสวนทางกับภาวะการแข่งขันที่สูงมาก ทำให้ผู้ให้บริการ SEO ในบ้านเราจำเป็นต้องหั่นราคาแข่งกันเพื่อให้ได้ลูกค้า (ระยะสั้น) จึงจำเป็นต้องเลือกใช้เทคนิกที่มีค่าใช้จ่ายต่ำ เช่น การใช้โปรแกรมอัตโนมัติสร้าง Spam Links จำนวนมากในระยะเวลาสั้น เป็นต้น การทำแบบนี้อาจจะได้ผลในระยะเวลาสั้น อันดับอาจจะไต่ขึ้นเร็ว หวือหวา แต่มีโอกาสลูกที่จะถูกจับได้และลงโทษโดย Google

ถ้าคุณอ่านมาถึงตรงผมอนุมานว่าคุณมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ SEO อยู่ในเกณฑ์ดี ให้ใช้ความรู้ที่ได้ ทำรายการคำถาม เพื่อสอบถาม Agency อย่างน้อย 3-5 บริษัท เปรียบเทียบกัน แล้วค่อยตัดสินใจ อย่ารีบร้อน การทำ SEO ใช้เวลาครับ ตั้งแต่การเลือกผู้รับทำกันเลยก็ว่าได้

สำหรับท่านที่ต้องการให้ทีมงาน SEO Books ช่วย และยังมีคำถามคาใจอยู่ สอบถามเข้ามาได้ครับ

ปุ่มเพิ่มเพื่อน LINE

เสิร์ชเอนจิน ปรับ Algorithm ตลอดเวลา ทำให้การทำ SEO มีความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเช่นกัน ถึงแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว หลักการพื้นฐานในการทำนั้นทำความเข้าใจได้ไม่ยาก
อีกอย่างทุกวันนี้ คุณสามารถเข้าถึงความรู้ดีๆ ในอินเตอร์เน็ตแบบฟรีๆ ได้ง่ายๆ (อย่างเช่นบทความที่คุณกำลังอ่านอยู่นี) เมื่อนำหลักการที่ได้ศึกษาไปทดลองทำจริงบ่อยๆ เข้า เชื่อขนมกินได้ว่าคุณสามารถเป็นอีกหนึ่งกูรูทางด้าน Search Engine Optimizationได้โดยใช้เวลาไม่นานนัก

Similar Posts

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *